วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

สมาคมฝรั่งเศส

ไปเข้าร่วมกิจกรรมที่ซุ้มของ สถานฑูตเบลเยี่ยม และเค้าก็ให้เราวาดรูปส่งชิงรางวัลด้วยค่ะก็เลยลองวาดๆดู
และนี้เป็นผลงานของดิฉันค่ะ

ซึ่งเวลาประมาณ 11.45 น.เค้าก็จะประกาศผล ตอนแรกก็ไม่นึกหรอกค่ะว่าจะได้รางวัลกับเค้าด้วย ปรากฎว่าได้ที่ 2 ค่ะ

ดีใจมากๆเพราะอยากได้ตุ๊กตาของเค้า

และนี้ก็รางวัลที่ได้มาค่ะ น่ารักมากๆๆ







วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระเกี้ยว" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 (ขณะนั้นนับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับอย่างใหม่ต้องเข้าปี พ.ศ. 2460) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีดำรงตำแหน่งมาแล้ว 16 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับยกย่องเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาในระดับดีมาก จาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนใน 18 คณะ 1 สำนักวิชา บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 492 สาขาวิชา หลักสูตรนานาชาติและภาษาอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 70 สาขาวิชานอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งเพื่อดำเนินการวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ ด้วย
ในอดีต ผู้ที่จบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติ


พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2442 ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยมีพระราชปรารภที่จะทรงจัดการปกครองพระราชอาณาจักรให้ทันกาลสมัย จึงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกหัดนักเรียนสำหรับรับราชการปกครองขึ้นในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการใกล้ชิดพระองค์ และด้วยประเพณีโบราณที่ข้าราชการจะถวายตัวเข้าศึกษางานในกรมมหาดเล็ก ก่อนที่จะออกไปรับตำแหน่งในกรมอื่น ๆ ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะขยายการจัดการศึกษา เพื่อผลิตนักเรียนไปรับราชการในกระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ ไม่เฉพาะกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน โดยใช้วังวินด์เซอร์ เป็นสถานที่ประกอบการเรียนการสอน และสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453 พร้อมทั้ง พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริจัดตั้งขึ้น และได้ใช้เงินคงเหลือจากการที่ราษฎรเรี่ยรายกันเพื่อสร้างพระบรมรูปทรงม้านั้น มาใช้เป็นทุนของโรงเรียนแห่งนี นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดที่ดินพระคลังข้างที่รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 1,309 ไร่เป็นเขตโรงเรียนโดยมีการจัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน (คณะในปัจจุบัน) ได้แก่ โรงเรียนรัฎฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนคุรุศึกษา โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา และโรงเรียนยันตรศึกษาต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ เห็นสมควรที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่ผู้ใดที่มีความประสงค์จะศึกษาขั้นสูงก็สามารถเข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อเป็นอนุสาวรีย์สมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ตราสัญลักษณ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือน
ระหว่างปี พ.ศ. 2459 - 2465 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาระดับประกาศนียบัตร พร้อมกับเริ่มเตรียมการเรียนการสอนระดับปริญญา โดยขณะนั้นจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และในระหว่างปี พ.ศ. 2481 - 2490 เริ่มเน้นการเรียนการสอนอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการจัดตั้งเตรียมมหาวิทยาลัย คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปัจจุบัน)
เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้านภาษาและหนังสือหลายประการ เช่น ยกเลิกการใช้อักษร "ฬ" ให้ใช้ "ร,ล" แทน และ ยกเลิกการใช้ "ณ" ให้ใช้ "น" แทน ดังนั้น จึงได้ปรากฏการเขียนชื่อมหาวิทยาลัยในรูปแบบอื่นอีก ได้แก่ "จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย" ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ ในปี พ.ศ. 2487 ก็มีการประกาศยกเลิกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และให้กลับไปใช้การเขียนภาษาในรูปแบบเดิม การเขียนชื่อมหาวิทยาลัยจึงกลับเป็นแบบเดิม
หลังจากนั้น ในช่วงพ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2514 ยังสามารถพบการเขียนนามมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ซึ่งไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่ "ณ" เช่น พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ฉบับที่ 4, 5 และ 6
ระหว่างปี พ.ศ. 2491 - 2503 มหาวิทยาลัยก็ได้ขยายการศึกษาไปยังสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้นโดยเน้นการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นหลัก และตั้งแต่ พ.ศ. 2504 - ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างกว้างขว้าง พร้อมกับพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และก่อตั้งหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและงานบริการทางวิชาการแก่สังคม
สัญลักษณ์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


พระเกี้ยว ตราประจำมหาวิทยาลัย
พระเกี้ยว เป็นพิจิตรเรขา (สัญลักษณ์) ประจำรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 11 ใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 พระราชทานให้เป็นเพลงประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เสื้อครุยพระราชทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ใช้เสื้อครุย โดยสีพื้นของสำรด นั้นแบ่งออกเป็น 3 สี ได้แก่
พื้นสำรด "สีเหลือง" สำหรับฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์
พื้นสำรด "สีดำ" สำหรับระดับบัณฑิตและมหาบัณฑิต เพื่อเป็นการถวายความเคารพแด่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันเสาร์
พื้นสำรด "สีแดงชาด" สำหรับระดับดุษฎีบัณฑิต เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคาร
จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจุฬาฯ มีความผูกพันกับชาวจุฬาฯ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัย ในวันที่ 15 มกราคม 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งพระราชทานพระราชดำรัสว่า "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล"
สีชมพู เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้เสนอว่าชื่อของมหาวิทยาลัย คือ พระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคารและโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สีชมพูเป็นสีประจำพระองค์ จึงสมควรอัญเชิญสีประจำพระองค์เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคล

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552

เนื้อวัว


เนื้อโค หรือ เนื้อวัว หมายถึง อวัยวะกล้ามเนื้อของสัตว์ประเภทเคี้ยวเอื้อง ที่เรียกว่า โค หรือ วัว ซึ่งไม่รวมความถึง หนัง เขา กีบ และเครื่องในของสัตว์ชนิดนั้นๆ ด้วย เนื้อโคเป็นประเภทกล้ามเนื้อลาย(Striated muscle) มีลักษณะเป็นเส้นยาวเรียกว่าใยกล้ามเนื้อ(Muscle fiber) ซึ่งจะโตกว่าเซลล์ของเนื้อสุกร
เนื้อโคที่ดีและสะอาดจะต้องมาจากกระบวนการฆ่า การชำแหละจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจรับรองจากพนักงานตรวจเนื้อสัตว์ ของกระทรวงเกษตรฯ ในประเทศนั้นๆ เนื้อโคที่สด สะอาด จะมีลักษณะสีแดง ไม่ดำหรือคล้ำ และต้องไม่มีการปนปื้อน ตกค้างของ สารเคมี ยา จุลินทรีย์ ที่ทำให้เกิดโรคต่อผู้บริโภคได้
ในความเชื่อบางศาสนา เช่น ศาสนาฮินดู หรือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน การรับประทานเนื้อวัว ถือว่าผิดหลักศาสนา

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2552

สวัสดีปีใหม่คร่ะ


ปีฉลู เท่ากับ วัว มอ...มอ.....



ปีฉลูOXวัวจอมขยัน

ลักษณะเฉพาะสุขุม มีหลักการ ไม่ยืดหยุ่น ไม่ชอบให้ใครมาสั่งจุดเด่นสุขุม ไม่ผลีผลาม กล้าตัดสินใจจุดอ่อนต้องการความแน่นอนในชีวิต เป็นคนเงียบและเดายากคู่รักที่เหมาะสมปีมะเส็ง ระกา หรือชวดผู้ที่เกิดปีฉลูเป็นคนขยัน แน่วแน่ และเชื่อมั่นในตัวเอง ด้วยความที่มีมาตรฐานความดีความชั่วแบบขาวกับดำ จึงมักตัดสินผู้อื่นอย่างไร้การประนีประนอม ด้วยมาตรฐานเหล่านั้น คนเกิดปีนี้ไม่ชอบเข้าสังคม และมักจะเงียบมากตามงานปาร์ตี้ต่างๆ ภายใต้ลักษณะภายนอกอันสงบนิ่งนั้นซุกซ่อนความช่างคิด และความรุนแรงหากถูกยั่วให้โกรธเอาไว้ เพื่อความปลอดภัยจึงมิควรทำให้คนเกิดปีฉลูโกรธเอา คนเกิดปีฉลูเป็นนักสังเกตการณ์ที่ดี มีความจำเป็นเลิศ และสามารถรายงานทุกสิ่งที่พบได้อย่างแม่นยำ ถ้าพูดถึงครอบครัวแล้ว คนเกิดปีฉลูนับว่าเป็นสมาชิก ครอบครัวที่เยี่ยมมาก ส่วนเรื่องการงาน ชาวฉลูก็ทำได้ดีในเรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะ รับเหมาก่อสร้างหรือแม้แต่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากมีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ นอกจากนั้นความสามารถในการใช้สองมือเพื่อทำสิ่งต่างๆ บวกกับความฉลาดจึงทำให้ชาวฉลูเป็นศัลยแพทย์ได้ดีเช่นกัน คนเกิดปีฉลูนั้นดื้อและยึดมั่นในความคิดของตนเอง โดยเชื่อการตัดสินใจของตนเองอย่างไม่มีการเสียใจภายหลัง นอกจากนั้นยังเป็นคนรักครอบครัว แม้จะคิดอยู่เสมอว่าบุคคลใกล้ชิดไม่เข้าใจตัวเองก็ตาม แต่ชาวฉลูก็ยังเป็นคนอดทน เป็นห่วงเป็นใยผู้อื่น และเป็นเพื่อนที่น่าคบคนหนึ่ง ชาวฉลูนั้นมีความรับผิดชอบสูง ซื่อสัตย์ เห็นความสำคัญของครอบครัว และหัวโบราณ แม้จะไม่ใช่คนขี้หึง แต่ชาวฉลูก็ถือว่าตนเองมีสิทธิ์ได้รับความซื่อสัตย์ รักเดียวใจเดียวจากคู่ของตนเสมอ คู่ที่เหมาะกับคนปีฉลูที่สุดคือคนที่เกิดปีชวด ระกา มะเส็ง หรือวอก รองลงมาคือผู้ที่เกิดปีฉลูด้วยกันเองหรือผู้ที่เกิดปีเถาะ ที่พอเข้ากันได้บ้างก็คือผู้ที่เกิดปีกุน หรือจอ ที่ไม่ถูกกันอย่างยิ่งคือผู้เกิดปีมะเมีย หรือปีขาลบ้านเปี่ยมทรัพย์ เพื่อความมั่งคั่งร่ำรวย บ้านของคนปีฉลู ไม่ควรมีอะไรที่เป็นทรงกลม ยกเว้นโต๊ะอาหารที่เป็นโต๊ะกลมได้ นอกนั้นแล้วสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน ควรเป็นเหลี่ยมเป็นมุมทั้งหมด ตัวอย่างเช่น นาฬิการทรง 8 เหลี่ยม อ่างบัวทรง 5 เหลี่ยม กระถางต้นไม้ทรง 4 เหลี่ยม รวมไปถึงลวดลายของเหล็กดัด วอลล์เปเปอร์ ก็ควรเป็นรูปทรงเหลี่ยม หลีกเลี่ยงรูปวงกลมและรูปโค้งมนต่างๆความรักวัวเป็นสัตว์ใหญ่เชื่องช้าแต่ทำอะไรได้หลายอย่าง ความรักของคนที่เกิดปีนี้จึงมักอบอุ่นละมุนละไม เขาและเธอที่เกิดปีวัว มักเป็นคนหนักแน่น ลองได้รักใครแล้วก็มักจะรักจริง ถึงจะเป็นคนออกนอกลู่นอกทางบ้างก็เป็นแค่น้ำจิ้ม ไม่เคยจริงจังหรือคิดนอกใจใดๆ หรอกน่า คนเกิดปีฉลูถึงเจ้าชู้ก็เจ้าชู้แบบเงียบไม่กระโตกกระตาก ถ้าเขาคิดจะมีบ้านเล็กบ้านน้อย คงยากหรือนานทีใครจะรู้ได้ หนุ่มสาวปีวัว ไม่ชอบความโลดโผนในเรื่องความรัก ประเภทเจ้าชู้ไก่แจ้หาได้ยากมาก เพราะคนเกิดปีวัว ส่วนใหญ่จะรักบ้านรักครอบครัว ไม่น่าแปลกสำหรับสามีที่เกิดปีฉลู จะกลับบ้านตรงเวลาทุกวัน หรือไม่ก็ต้องโทรศัพท์บอกภรรยาทุกครั้งที่กลับผิดเวลา แม้จะดูเรียบง่าย แต่ไม่ว่าชายหรือหญิง ก็ไม่เป็นสองรองใครในเรื่องความรักหรอกนะ เป็นคนไฟแรงพอสมควรเชียวล่ะ อารมณ์ของเขาอาจจะหวั่นไหว ถ้ามีคนที่ต้องตาถูกใจมานั่งข้าง ทำให้หัวใจที่สุขุม นุ่มลึก สั่นสะท้านได้ง่ายเหมือนกัน เขาหรือเธอเป็นคนพูดน้อยแต่ต่อยหนัก เมื่อชอบใครจะไม่พูดออกมาตรง ประเภทมานั่งจีบ ออดอ้อน ค่อนข้างจะหาได้ยากสักหน่อย เขาจะแสดงออกด้วยการกระทำหรือส่งสายตา โปรยเสน่ห์บอกความนัยให้เขารู้เขาเรียกว่าเจ้าชู้ทางสายตาไงล่ะ