จำนวนประชากร : 58.3 ล้านคน ( 01 มกราคม 2539) เป็นอันดับที่ 17 ของโลกความหนาแน่นของประชากร : 105 คน ต่อตารางกิโลเมตร
พื้นที่ : มีพื้นที่ 551,000 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดในยุโรป หรือหนึ่งในสี่ของพื้นที่ในประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หากมองดูจากแผนที่ประเทศฝรั่งเศสแล้ว จะเห็นว่าเป็นเหมือนรูปหกเหลี่ยม ดังนั้นบางครั้งคนฝรั่งเศสจึงเรียกประเทศของตนว่า L'hexagone ซึ่งแปลว่ารูปหกเหลี่ยม
การปกครอง : การปกครองแบบรัฐธรรมนูญปี 1958 แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี 1962 มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ (คนปัจจุบัน President Jacques Chirac) เข้าดำรงตำแหน่งโดยการเลือกตั้ง ซึ่งมีขึ้นทุกๆ 7 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ รัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก (สส) ที่มาจากการเลือกตั้งทุกๆ 5 ปี วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งทางอ้อมทุกๆ 9 ปี และ 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเลือกตั้งทุกๆ 3 ปี
เพลงชาติ ลา มาร์แซยแยสา (La Marseillaise) แต่งโดย รูเชต์ เดอ ลิลล์ (Rouget De Lisle) โดยคำสั่งของนายกรัฐมนตรีเมืองสตราสบูร์กเมื่อปี 1792 เดิมมีชื่อว่า าเพลงรบกองทัพแห่งไรน์า (Chant de Guerre pour I'Armee du Rhine) ซึ่งมีท่วงทำนองและเนื้อร้องที่เร้าใจ ทำให้เพลงนี้ติดปากชาวฝรั่งเศส และเปลี่ยนมาเป็นเพลงประจำชาติในชื่อของ าลา มาร์แซยแยสา เมื่อปี 1795
ธงชาติ ธงไตรรงค์ หรือ Tricolore เป็นธงต้นฉบับของธงชาติที่หลายประเทศนำมาใช้ ซึ่งประกอบด้วย 3 สี คือ แดง น้ำเงิน ขาว เดิมทีธงลาฟาแยต (La Fayette) ซึ่งในขณะนั้นมี 2 สี คือ แดง และ น้ำเงิน อันเป็นสัญลักษณ์ของกองทหารรักษาพระนครในกรุงปารีสได้ก่อการปฏิวัติ ต่อมาในปี 1789 (พ.ศ. 2332) มีการเพิ่มสีขาวอันเป็นสัญญลักษณ์แห่งความภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ในพระราชวงศ์บูร์บองส์เข้าไป และได้นำมาใช้เป็นธงชาติมาตราบเท่าทุกวันนี้
ภูมิอากาศ มี 3 ประเภท คือแบบภาคพื้นสมุทร แบบภูเขา และแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในส่วนของนครปารีส นั้น มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปี 12 องศาเซลเซียส แต่เอาแน่อะไรกับภูมิอากาศปารีสไม่ค่อยได้ ฝนตกได้ทุกฤดูกาล และบางทีอุณหภูมิหน้าหนาวลดลงกว่า 3 องศาเซลเซียส เรียกได้ว่าถ้าจะไปปารีส ก็ต้องเตรียมตัวรับหลายสถานการณ์ ทางใต้ของฝรั่งเศส มีอากาศอบอุ่นที่สุดเป็นเขตที่มีลมชื่อ มิสทรัล (Mistral) พัดผ่านในราวฤดูใบไม้ผลิ
เงินตรา และธนาคารหน่วยเงินของฝรั่งเศส : คือฟรังค์ (FF) 1 ฟรังค์มีค่าเท่ากับ 100 ซองตีม (เซนต์) ซึ่งมีมูลค่าเป็นเงินไทยประมาณ 7 บาท (เดือน มิถุนายน 2541) ธนบัตรฝรั่งเศสมีมูลค่า 500,200,100,50 และ 20 ฟรังค์ เงินเหรียญของฝรั่งเศสมีมูลค่า 50,20,10 และ 5 ซองตีม เหรียญ 50 ซอง จะออกมาในลักษณะ ฟรังค์
ธนาคารบางแห่งในฝรั่งเศสอาจจะไม่รับแลกเงิน ดังนั้นนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะแลกเงิน สามารถแลกได้จากธนาคารที่มีคำว่า Exchange เขียนบอกไว้ หรือจากที่ทำการไปรษณีย์ที่มีเคาน์เตอร์สำหรับแลกเงิน เวลาทำการของธนาคารบางแห่งอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องที่ เช่นธนาคารที่อยู่ในเมืองทางเมืองทางตอนเหนือของฝรั่งเศสจะเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.30-16.30 หรือ 17.15 น. บางแห่งอาจจะหยุดพักเที่ยงด้วย ธนาคารที่อยู่ในเมืองทางใต้ส่วนใหญ่จะเปิดวันอังคาร-เสาร์ เวลา 8.00-12.00 น. และ 13.30-16.30 น. และเคาน์เตอร์สำหรับแลกเงินของธนาคารมักจะปิดทำการเร็วกว่าเวลาปิดบริการของธนาคารครึ่งชั่วโมง หากพกเงินเป็นจำนวนมาก ขอแนะนำให้ใช้เช็คเดินทางจะปลอดภัยกว่า ในกรณีของบัตรเครดิตเป็นที่ยอมรับทั่วไปในประเทศ ได้แก่ วีซ่าการ์ด นิยมมากที่สุด ตามด้วยมาสเตอร์การ์ด ไดเนอร์คลับ และบัตรอเมริกันเอ็กซ์เพรส ตามลำดับ
การทิป : ตามกฏหมายฝรั่งเศส ร้านอาหารหรือภัตตาคาร สามารถคิดค่าเซอร์วิสชาร์จได้ ประมาณ 10-15% ของราคาอาหาร ดังนั้นการทิปอาจจะไม่จำเป็นเท่าไรนัก แต่คนส่วนมากมักจะทิ้งเศษเหรียญ หรือเงินสัก 2-3 ฟรังค์ ไม่ว่าจะกินกันในจำนวนเงินแค่ไหนก็ตาม หรือถ้าเราพอใจการบริการของเขา ก็อาจจะทิปให้มาก ถ้าไปนั่งกินกาแฟที่ร้าน ควรจะทิ้งเงินทิปไว้สัก 1 ฟรังค์ แต่ถ้าบริการไม่ดีก็ไม่จำเป็นต้องทิปก็ได้ ทั้งนี้ในส่วนของเท็กซี่ และโรงภาพยนต์ ปกติจะทิปประมาณ 2-3 ฟรังค์
โทรศัพท์ โทรศัพท์สาธารณะในฝรั่งเศสมีทั้งแบบใช้บัตรและแบบหยอดเหรียญ ถ้าเป็นในเมืองใหญ่ๆ มักจะเป็นแบบใช้บัตร บัตรโทรศัพท์มี 2 มูลค่า คือ 40 ฟรังค์ มี 50หน่วย และ 96 ฟรังค์ มี 120 หน่วย หากจะโทรศัพท์กลับมาเมืองไทยขอแนะนำให้ใช้บัตรโทรศัพท์จะสะดวกกว่าแบบหยอดเหรียญ หาซื้อบัตรโทรศัพท์ได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์ แผงขายหนังสือที่มีอยู่ทั่วไป หรือตามสถานีรถไฟ และร้านขายของที่มีเขียนป้ายติดว่าจำหน่ายบัตรโทรศัพท์ หรือ าTelecarteา หากจะโทรศัพท์มาประเทศไทยด้วยโทรศัพท์สาธารณะจะต้องหมุน 19+66+รหัสเมือง+หมายเลขที่ต้องการ
หากอยู่ที่เมืองอื่นๆในฝรั่งเศส นอกเหนือจากเมืองปารีสและต้องการจะโทรศัพท์มายังปารีส หมุนหมายเลข16+1+หมายเลขที่ต้องการ
ถ้าอยู่ในปารีสและต้องการโทรศัพท์ไปยังเมืองอื่นๆ ให้หมุนหมายเลข 16+หมายเลขที่ต้องการ
หมายเลขโทรศัพท์ที่ควรรู้ 13-โอเปอร์เรเตอร์ 1614-โอเปอร์เรเตอร์สำหรับระหว่างประเทศ
ไฟฟ้า กระแสไฟที่ฝรั่งเศสใช้คือ 220 โวลท์ เป็นปลั๊กชนิด 2 ตา บางพื้นที่เป็นปลั๊กชนิด 3 ขา
น้ำประปา น้ำประปาในฝรั่งเศสสะอาดสามารถดื่มได้จากก๊อก น้ำจากก๊อกที่ไม่สะอาดพอจะมีป้ายบอกไว้เสมอว่า าไม่สามารถดื่มได้า หรือ eau non potable
เวลา เวลาของฝรั่งเศสจะช้ากว่าที่เมืองไทย 6 ชั่วโมง เวลาทำงานและประกอบกิจการ สำนักงานส่วนใหญ่จะเปิดทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์และบางแห่งวันจันทร์ ชั่วโมงทำการคือ 9.00 หรือ 10.00 น.-18.30 หรือ 19.00 น. หยุดพักเที่ยงตั้งแต่ 12.00 หรือ 13.00 น.-14.00 หรือ 15.00 น. ร้านค้าทั่วไปจะเปิดร้านประมาณ 9.00-18.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์-เสาร์ และมักพักตอนเที่ยง มีร้านค้าจำนวนมากที่จะปิดในช่วงวันจันทร์ และแทบทุกร้านจะไม่เปิดขายสินค้าในวันอาทิตย์โดยเฉพาะช่วงบ่ายเลย ร้านขนมปัง มักจะเปิดกันตั้งแต่ 7.00 น. และหยุดพักตอนเที่ยง หลังจากนั้นจะเปิดอีกครั้งจนถึงเวลาประมาณ 19.00 น. หรือเกินกว่านั้น ส่วนร้านที่ไม่หยุดพักในตอนเที่ยง ได้แก่ซูเปอร์มาเก็ต ห้างสรรพสินค้า
ช้อปปิ้งน้ำหอม นักท่องเที่ยวทั่วไปนิยมซื้อน้ำหอมยี่ห้อที่ฝรั่งเศสเป็นต้นตำรับ ซึ่งราคาจะถูกกว่าที่นำมาขายในต่างประเทศมาก เมืองที่มีชื่อเสียงในการผลิตหัวน้ำหอมกลิ่นต่างๆ ได้แก่เมืองนีส คานส์ ริเวียร่า เป็นต้น ยี่ห้อน้ำหอมที่ขึ้นชื่อที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าตำรับได้แก่ Christian Dior และน้ำหอมของ Caron, Givenchy, Rochas, Guerlain, Paco Rabanne เป็นต้น
เสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่น ฝรั่งเศสมีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะศูนย์รวมของดีไซเนอร์ชื่อดัง และเป็นต้นฉบับของแฟชั่นทั่วโลก
เครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ฝรั่งเศสมีชื่อด้านนี้อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การเป็นแหล่งผลิตของไวน์ และแชมเปญที่สำคัญที่สุดของโลกในปัจจุบันไวน์ (Vin) หรือเหล้าองุ่นเริ่มผลิตขึ้นในฝรั้งเศสเป็นครั้งแรกตั้งแต่ยุคโรมัน โดยกองทัพโรมันที่เข้าปราบปรามอนารยชนได้นำวิธีการทำเหล้าองุ่นมาเผยแพร่และได้สืบทอดการทำไร่องุ่น และเหล้าไวน์มาจนปัจจุบัน ในหมู่นักดื่มไวน์นั้น ถือว่าไวน์ฝรั่งเศสเป็นไวน์ที่ดีทีสุดในโลก แหล่งผลิตไวน์ที่ขึ้นชื่อไดแก่ บอร์โดซ์ (Bordeux) เบอร์กันดี ชองปาญ อัลซาส ลัวร์ โรน โพรวองซ์ จูราและซาวอย และทางตอนใต้สุดของประเทศ
ไวน์แบ่งออกเป็น 3 สี คือ ไวน์ขาว (Blanc) ไวน์แดง (Rouge) และไวน์สีชมพู (Rose) โดยทั่วไปจะนิยมไวน์ขาว และไวน์แดง แต่ไวน์สีชมพูจะไม่เป็นที่นิยมและมักถือว่าเป็นไวน์ที่ดื่มเล่นๆเสียมากกว่า
รสชาติของไวน์นั้นจะแบ่งออกเป็น But = ธรรมดา, Sec = หวานเล็กน้อย, Demi-sec = หวาน, Doux = หวานมาก
คุณภาพของไวน์ที่ผลิตในฝรั่งเศสนั้นรัฐจะควบคุมให้ได้มาตรฐาน โดยแบ่งออกเป็น 4 ลำดับขั้น คือ1) Appellation d'Origine Controlee (AOC) เป็นไวน์ที่แจ้งรายละเอียดการผลิต ที่ผลิต การบรรจุขวด การบ่มไวน์อย่างละเอียดบนป้ายฉลาดขวด เป็นไวน์คุณภาพสูง และสามารถมีราคาสูงได้เป็นพันเป็นหมื่นบาทขึ้นอยู่กับปีที่ผลิตเป็นสำคัญ2) Vins Delimite de Qualite Superieure (VDQS) เป็นไวน์คุณภาพสูง เช่นเดียวกับไวน์ที่มี AOC ต่างกันตรงเป็นไวน์ที่ผลิตจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือสถานที่แห่งหนึ่งเป็นพิเศษ ซึ่งสถานที่นั้นๆได้รับการรับรองว่าผลิตไวน์ได้คุณภาพ เช่นไวน์จากบอร์โดซ์ ซึ่งจะบรรจุขวดรูปทรงไม่เหมือนกับไวน์ที่อื่นๆ ไวน์แบบนี้มีราคาสูงเช่นกัน3) Vin de Pays หรือไวน์ท้องถิ่น ราคาไม่ค่อยแพง คุณภาพปานกลางมักเสิร์ฟตามร้านอาหารทั่วไป4) Vin De Table หรือไวน์ธรรมดาๆ คุณภาพปานกลาง มักเสิร์ฟตามร้านอาหารแบบชาวบ้านโดยใส่มาเป็นเหยือก (carafe)องุ่นต่างพันธุ์จะให้รสชาติของไวน์ที่ต่างกันไป ชื่อพันธุ์องุ่นจะถูกบ่งบอกไว้ที่ขวดด้วย พันธุ์องุ่นที่กล่าวกันว่าดี ให้ไวน์รสกลมกล่อม นุ่มละมุนเป็นที่นิยมกันก็ คือpinot noir, pinot gris, pinot blanc, muscat, riesling, cabernet sauvignon, cabernet franc, merlot, petit verdot, malbec, muscadet, sauvignon, chenin blanc, gamay
นอกจากนี้ยังมีประเภท เครื่องสำอาง, กระเป๋าและเครื่องหนัง, ผ้าลูกไม้ฝรั่งเศสอาหารการกินในสมัยก่อนคนฝรั่งเศสสามัญชนโดยเฉพาะในชนบท จะถืออาหารกลางวันเป็นอาหารหลัก ส่วนในราชสำนักจะถือมื้อเย็นเป็นสำคัญ แต่ในปัจจุบันเวลาอาหารปกติ คือ กลางวัน 12.00-14.00 น. เย็น 20.00-22.00 น.เพราะฉะนั้นตามเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะปารีสร้านอาหารอาจเปิดประมาณ 11.30 น. ถึง บ่าย 2 โมง และเปิดอีกครั้งเวลา หนึ่งทุ่มไปจนถึงเที่ยงคืน บางร้านอาจเปิดไปจนถึงตีสองหรือตีสามเพื่อรับนักท่องเที่ยวราตรีโดยเฉพาะ
อาหารเย็นแบบเต็มยศ จะประกอบด้วยอาหารตั้งแต่ 6 จาน (คอร์ส) ขึ้นไป เสิร์ฟไวน์ตลอดเวลา ไม่นิยมเครื่องดื่มชนิดอื่นระหว่างรับประทานอาหารนอกจากน้ำหากไม่ดื่มไวน์ภัตตาคารที่หรูหราจะเสิร์ฟอาหารแบบเต็มยศ ซึ่งจะสั่งเพียง 2 หรือ 3 คอร์สก็ได้ การสั่งอาหารในภัตตาคารหรูจะเรียงลำดับดังนี้1. Aperitif (เหล้า หรือ เครื่องดื่มสำหรับจิบเรียกน้ำย่อย)2. Entree และ/หรือ ออร์เดิร์ฟ (อาหารจานแรก อาจมีซุปต่ออีกคอร์สก็ได้)3. Plat Pricipal (อาหารจากหลัก)4. Salade (สลัดเสิร์ฟเคียงกับอาหารจานหลัก)5. Fromage (เนยแข็งชนิดต่างๆ วางบนถาดไม้)6. Dessert (ของหวาน)7. Fruit (ผลไม้)8. Cafe หรือ The (กาแฟ หรือ ชา)9. Degestif (เหล้าหลังอาหาร)
รูปแบบของอาหาร ได้มีการแบ่งรูปแบบอาหารออกเป็นลำดับชั้น คือ1. Haute Cuisine อาหารที่ปรุงอย่างหรูหราสำหรับคนร่ำรวยใช้เวลาในการเตรียมนาน และเมื่อเสิร์ฟก็ต้องตกแต่งอย่างสวยงาม2. Cuisine Bougeoise อาหารที่ทำกินกันเองในบ้าน แต่ใช้เครื่องปรุงที่มีคุณภาพ3. Nouvelle Cuisine อาหารแนวใหม่ใช้เครื่องปรุงธรรมชาติแบบดูแลสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจลดน้ำหนัก4. Cuisine des Province อาหารพื้นบ้านชนบทใช้เนื้อสัตว์และผักนานาชนิด โดยไม่แปรรูปให้วิจิตรพิสดาร
ร้านอาหาร ร้านอาหารในฝรั่งเศสแม้หน้าตาคล้ายๆ กัน แต่อาจเรียกไม่เหมือนกัน ด้วยลักษณะของอาหารที่ขายรวมทั้งเครื่องดื่มด้วย1. Restaurant คือ ภัตตาคาร มักจะขายอาหารเฉพาะอย่างเช่น อาหารไทย, อาหารเวียดนาม หรืออาหารทะเล รวมทั้งร้านที่ขายเฉพาะอาหารฝรั่งเศสด้วย จะเปิดขายอาหารกลางวันถึงประมาณบ่ายสามโมงแล้วปิด จะขายอาหารเย็นอีกครั้งราวหกโมงครึ่งไปจนถึง 4-5 ทุ่ม การสั่งอาหารจะค่อนข้างใช้เวลานาน2. Brasserie คือ ร้านอาหารที่เปิดขายตั้งแต่เช้าจรดเย็นโดยไม่มีเวลาหยุดพัก และมีอาหารเสิร์ฟทั้งวัน3. Cafe คือร้านกาแฟ เป็นแหล่งชุมชนของผู้คนในละแวกนั้น จะเสิร์ฟอาหารแบบง่ายๆ อาทิ แซนวิช หรือ ครัวซอง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ4. Salon de The เป็นภาคที่หรูหราของคาเฟ่ เสิร์ฟอาหารเบาๆ พวกสลัด หรือ แซนวิช และมีขนมอบ ขนมหวาน เครป และไอศกรีมให้รับประทาน ส่วนใหญ่จะเปิดสายๆถึงหัวค่ำ5. Boulandgerie หรือร้านขายขนมปัง สดใหม่น่ารับประทาน จะเปิดแต่เช้าและปิดตอนใกล้ค่ำ6. Patisserie ร้านขายขนมอบนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นเพสตรี เอแคลร์ หรือครัวซอง บางร้านมีโต๊ะวางไว้เผื่อลูกค้าจะนั่งในร้าน และมีชา กาแฟเสิร์ฟ ด้วย7. Confiserie หมายถึงร้านที่ขายของหวานจำพวกช็อคโกเลต ลูกกวาด ผลไม้เชื่อม ในบางร้านอาจมีเค้ก พาย ที่แต่งอย่างหน้ารัก สวยงาม และพอคำ
อาหารจานเด็ด หากไปถึงฝรั่งเศสอย่าลืมลิ้มลองอาหารขึ้นชื่อเหล่านี้1. Fruits de mer คืออาหารทะเลสดๆ ประกอบด้วยกุ้ง หอย และปูหลากชนิดลวกพอสุก จัดวางบนน้ำแข็งเกล็ดในถาดใบโต รับประทานโดยการบีบมะนาว และจิ้มน้ำส้มสายชูใส่หัวหอมซอย ถ้าจะให้ดีต้องกลั้วคอด้วยไวน์ขาว และแนมให้หนักท้องด้วยข้าวไรย์ทาเนย อาหารจานนี้เป็นอาหารเมืองชายทะเลภาคตะวันตก2. Cog au vin หรือ ไก่อบซอสไวน์แดงใส่หอม และเห็ดดุม เป็นอาหารที่ภัตตาคารแทบทุกแห่งจะต้องบรรจุไว้ในเมนู3. Soupe a l oignon หรือซุบหัวหอม เป็นอาหารที่สำคัญอีกจานหนึ่ง หอมหัวใหญ่จะถูกหั่นเป็นเส้นบางๆ เคี่ยวจนเกือบเละในน้ำซุปรสเข้ม เมื่อจะเสิร์ฟ จึงลอยขนมปังที่อบร้อนโดยมีเนยแข็งวางอยู่ข้างบน4. Escargots a la Bourguignonne หอยทากเอสคาร์โกอบจนสุก พอออกจากเตาร้อนๆก็เอาเนยสดที่ผสมเครื่องเทศใส่ลงไปจนเต็มปากหอย รับประทานเรียกน้ำย่อย5. Pate de foie gras ตับบดปรุงรสด้วยเครื่องเทศ ทำจากตับห่านหรือตับเป็ด หากไม่บดก็อาจเป็นชิ้นๆ ปรุงด้วยเหล้าบรั่นดี
ขนมปังขนมปังของฝรั่งเศสที่เรียกว่า บาแกตต์ (Baquette) มีเอกลักษณ์พิเศษกว่าใคร ด้วยการทำเป็นทรงยาวกว่า 2 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว เวลาทานมักบิออกด้วยมือ หรือฝานออกเป็นชิ้นๆ อีกชนิดที่นิยมคือ ครัวซอง
ขนมหวานขนมหวานที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่1. เครป (Crepe) เป็นเสมือนอาหารว่างมากกว่า พบเห็นทั่วไป ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ เครปซูเซตต์ หรือเครปน้ำตาลใส่น้ำส้มและเหล้า2. มารองกลาสเซ่ (Marron Glace) หรือเกาลัดเชื่อมหวานสนิม ร้านที่ขายที่ขึ้นชื่อ คือร้าน Fauchon3. เอแคลร์ (Eclair) ขนมอบใส่ใส้ครีม
ขนมว่างเป็นอาหารง่ายที่กินระหว่างมื้อ ที่ขึ้นชื่อก็คือ โคร้ก เมอซิเออร์ (Croque monsieur) ซึ่งเป็นแซนวิชวางแฮมและเนยแข็งไว้ข้างบนแล้วเข้าอบ ถ้าวางไข่ดาวด้วยเรียก โคร้ก มาดาม (Croque madam)
เนยแข็งชนิดของเนยแข็งฝรั่งเศสที่ขึ้นชื่อ อาทิ 1. รอคฟอร์ต (Roquefort) เนยกลิ่นแรงรสจัดมีเส้นสีฟ้าๆอยู่ในเนื้อเนย 2. กามองแบร์ (Camembert) เนยสีขาวนวลเนื้อนิ่ม มีเปลือกสีขาวรอบนอก ซึ่งกินได้ แต่ไม่ค่อยกิน3. บรี (Brie) เนยสีฟ้า หรือ Blue
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น