1. เลือกเวลาที่เหมาะสมเวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาที่เราต้องการจะอ่าน เวลาที่ว่างจากงานอื่น เวลาที่อยากจะอ่านหนังสือ หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน เราต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเอง การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก
2. วางลำดับวิชาและเนื้อหาขั้นตอนต่อมา คือ เลือกวิชาที่จะอ่าน มีหลักง่ายๆ คือ เอาวิชาที่ชอบก่อน เพื่อให้เราอ่านได้เยอะๆ และอ่านได้เร็ว ควรเลือกเรื่องที่ชอบอ่านก่อนเป็นอันดับแรก จะได้มีกำลังใจอ่านเนื้อหาอื่นต่อไป ไม่แนะนำวิชาที่ยาก และเนื้อหาที่ไม่ชอบ เพราะจะทำให้เสียเวลาเปล่า การอ่านหนังสือควรอ่านให้ได้ตามที่เราวางแผนเอาไว้ วิธีการก็คือ List รายการหรือเนื้อหา บทที่จะอ่านให้หมด จากนั้นค่อยเลือกลำดับเนื้อหาว่าจะอ่านเรื่องใดก่อนหลัง แล้วค่อยลงมืออ่าน
3. ลงมือทำยังไง ถ้าไม่มีข้อนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ การลงมือทำคือการลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง อย่าฝากอนาคตของตัวเองไว้กับความขี้เกียจของวันนี้ บางคนลงมือทำ แต่ไม่จริงจัง ก็ไม่ได้นะ ขอให้นึกถึงชาวนาแล้วกัน ถ้าลงมือทำนาเริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ แล้วทิ้งค้างไว้แต่ไม่ทำให้สำเร็จ ไม่ดูแลจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หรือทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว การทำนาก็จะไม่สำเร็จ เราก็จะไม่มีข้าวกิน ดังนั้น ขอใหเพื่อนๆ “ทำอะไร ทำจริง” แล้วทำให้ได้จริงๆ
4. ตรวจสอบผลงานผลของการอ่าน ดูได้จากว่า ทำข้อสอบได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ เราขอแนะนำว่า อ่านแล้วต้องจดบันทึกไว้ด้วยนะ จะได้รู้ว่า เราอ่านไปถึงไหนแล้ว และอ่านไปได้เนื้อหาอะไรบ้าง การจดบันทึก ก็คือการทำโน้ตย่อนั่นแหละ ทำสรุปไว้เลยว่าอ่านอะไรไปแล้วบ้าง เก็บไว้ให้มากที่สุด จะได้เป็นผลงานของตัวเอง เก็บไว้อ่านเมื่อต้องการ เก็บไว้อ่านตอนใกล้สอบ
เคล็ดลับ 13 ประการ เพื่อ การเรียน อย่างมี ประสิทธิภาพ
1. รับผิดชอบ - รับผิดชอบตนเอง ไม่ยืมจมูกคนอื่นหายใจ เป็นผู้ชนะจากความสามารถของตน
2. เริ่มต้นดี - ช่วงเดือนแรกในรั้วมหาวิทยาลัย ถือเป็นช่วงวิกฤตของน้องใหม่ หากเริ่มต้นดี ความสำเร็วจะไม่อยู่ไกลเกินเอื้อม
3. กำหนดเป้าหมายในการเรียนอย่างแน่วแน่ - กำหนดเป้าหมายในการเรียนให้ชัดเจน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และทุ่มเทความพยายามให้บรรลุเป้าหมายนั้น
4. วางแผน และจัดการ - มีการวางแผน จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ต้องทำ หากทำตารางเวลาเป็นรายสัปดาห์ได้ยิ่งดี
5. มีวินัยต่อตนเอง - เมื่อกำหนดเป้าหมาย วางแผน และจัดการ ตามข้อ 4 และ 5 แล้วต้องสัญญากับตนเองอย่างแน่วแน่ที่จะมีวินัย และปฏิบัติตาม
6. อย่าล้าสมัย - วิทยาการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การค้นคว้าหาความรู้ ต้องอิงกับข้อมูลที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์
7. ฝึกฝนตนเองให้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ - ศึกษาข้อเสนอแนะในคู่มือเล่มนี้ และฝึกทักษะการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ติดตัวตลอดไป
8. เตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่ชั้นเรียน - เตรียมตัวเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อย่างแข็งขัน หากเป็นไปได้เตรียมอ่านเอกสารที่จะเรียนมาก่อนเข้าห้องเรียน
9. มุ่งมั้น จดจ่อต่อบทเรียน - มีสมาธิ สนใจ ตั้งใจ เวลาอาจารย์สอน ไม่เข้าเรียนเพื่อพูดคุยกัน ซังกะตาม รอเวลาเลิกชั้น
10. เป็นตัวของตัวเอง - รู้จักคิดและทำ ด้วยความสามารถของตนเองคิดเสมอว่าเราเป็นผู้หนึ่งที่มีศักยภาพสูง
11. มีความกระตือรือล้น - ความสำเร็จเป็นของผู้ที่มีความริเริ่ม เป็นฝ่ายรุกที่จะมุ่งหน้า และคว้าความสำเร็จเป็นของตน
12. มีสุขภาพดี - อย่าลืมใส่ใจต่อสุขภาพร่างกาย กิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมสังคม วางแผนจัดเวลาต่อสิ่งเหล่านี้ให้พอเหมาะ
13. เรียนอย่างมีความสุข - พยายามเก็บเกี่ยวความน่าสนใจในบทเรียน คิดเสมอว่าทุกวิชาน่าเรียนรู้ น่าสนุกทั้งนั้น แล้วท่านจะพบว่า เราก็เรียนอย่างมีความสุขได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น