วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553
ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris
ขนาด หัวถึงลำตัว 168 - 227 เซนติเมตร
หาง 94 - 118 เซนติเมตร
น้ำหนัก 180 - 245 กิโลกรัม
รูปร่างลักษณะ
เสือโคร่งเป็นเสือขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเสือ ลำตัวมีสีเทาแกมเหลืองหรือน้ำตาลอมเหลือง แต่ละตัวจะมีลายแถบปรากฎบนหลังและด้านข้างของลำตัวต่างกัน ขนใต้ท้อง คาง และคอ เป็นสีขาว ขนเหนือตาสีขาวและมีแถบสีดำ หางมีแถบดำเป็นบั้งๆ ตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง ไม่เคยมีรายงานเสือโคร่งดำ แต่มีรายงานเสือโคร่งเผือก เสือโคร่งตัวผู้ขนาดใหญ่อาจมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 300 กิโลกรัม
ถิ่นที่อยู่
มีการกระจายจากแถบไซบีเรียถึงทะเลสาบแคสเปียน อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะสุมาตรา หมู่เกาะชวา และแถบบาหลี แต่ไม่เคยมีรายงานการพบเสือโคร่งบนเกาะบอร์เนียว
พฤติกรรม
เสือโคร่งชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำหรือที่มีร่มเงาให้หลบแสงแดด เพราะมันไม่ชอบอากาศร้อน เสือโคร่งจึงมักอาศัยในป่าทึบอากาศเย็นและใช้พักผ่อนได้ในเวลากลางวัน เสือโคร่งชอบอาบน้ำและว่ายน้ำ ในวันที่มีอากาศร้อน เสือโคร่งใช้เวลาหลายชั่วโมงในแอ่งน้ำ เสือโคร่งไม่ชอบปีนต้นไม้ แต่ก็ปีนได้ ถ้าจำเป็น
เสือโคร่งออกล่าเหยื่อตอนเย็นและล่าทุกอย่างที่กินได้ ตั้งแต่ปลา เต่า เม่น หรือแม้แต่เสือโคร่งด้วยกันเอง ในประเทศไทย เสือโคร่งชอบล่าหมูป่าและกวางเป็นอาหาร เสือโคร่งจะไล่เหยื่อประมาณ 10-20 เมตรแล้วจึงเข้าตะครุบเหยื่อจากทางด้านหลังหรือด้านข้าง เสือโคร่งเริ่มกินเหยื่อตรงสะโพกก่อน ตามปกติมันต้องการอาหารวันละประมาณ 6-7 กิโลกรัม
เสือโคร่งที่อายุมาก เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ถ้าเกิดได้ลองกินคนแล้วอาจติดใจ เพราะสามารถล่าและฆ่าได้ง่าย แต่ตามธรรมชาติ เสือโคร่งไม่ชอบเข้าใกล้คน
เสือโคร่งชอบอยู่สันโดษ ไม่ค่อยพบว่าอยู่เป็นคู่ ถ้าพบเป็นกลุ่มก็จะเป็นแม่เสือโคร่งและลูกๆ ในฤดูผสมพันธุ์ เสือโคร่งตัวเมียจะส่งเสียงร้องดังและบ่อย เสือโคร่งใช้เวลาตั้งครรภ์ประมาณ 100-105 วัน ออกลูกครั้งละ 1- 5 ตัว แม่เสือโคร่งเลี้ยงลูกประมาณ 2 ปี โดยลูกตัวเมียจะอยู่นานกว่าลูกตัวผู้
8 สายพันธุ์เสือโคร่งที่มีอยู่ทั่วโลก
โดยทั่วไปเสือโคร่งในทุกพื้นที่ มีลักษณะรูปร่างและสีขนคล้ายคลึงกัน แต่ในรายละเอียดปลีกย่อยแล้วมีความแตกต่างกันบางประการ จนสามารถแยกกลุ่มประชากรของเสือโคร่งในถิ่นต่างๆ เป็นชนิดย่อย (Subspecies)
ได้ 8 ชนิด คือ
Bali tiger (Panthera tigris balica) สายพันธุ์บาหลี
Javan tiger (Panthera tigris sondaica) สายพันธุ์ชวา
Caspian tiger (Panthera tigris virgata) สายพันธุ์แคสเปียน
Indo-chinese tiger (Panthera tigris corbetti) สายพันธุ์อินโด-ไชนีส
Royal Bengal tiger (Panthera tigris tigris) สายพันธุ์เบงกอล
Siberian tiger (Panthera tigria altaica) สายพันธุ์ไซบีเรียน
South China tiger (Panthera tegris amoyensis) สายพันธุ์เซ้าท์ไชน่า
Sumatran tiger (Panthera tigris sumatrae) สายพันธุ์สุมาตรา
ความแตกต่าง เสือโคร่งทั้ง 8 ชนิดแตกต่างกันที่ขนาด สี และลักษณะลายเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ Sumatran tiger ขนาดเล็กที่สุดคือ Bali tiger เสือโคร่งซึ่งอยู่ค่อนไปทางตอนเหนือของโลกมีสีอ่อนกว่าชนิดซึ่งอยู่ค่อนมาทางตอนใต้ เช่น Siberian tiger มีสีอ่อนที่สุด Bali tiger มีสีเข้มที่สุด เป็นต้น
เสือโคร่งแต่ละชนิดมีจำนวนเส้นลายแตกต่างกัน เช่น South China tiger และ Indo-chinese tiger มีจำนวนเส้นลายมากขึ้นตามลำดับ Bali tiger Javan tiger และ Sumatran tiger เสือโคร่งทั้ง 3 ชนิดนี้พบอาศัยอยู่บนเกาะและมีลักษณะปลีกย่อยอื่นๆ เช่น ความยาวขน ลักษณะลายที่ปรากฏบนร่างกาย สัดส่วนกะโหลก ฯลฯ ต่างจากเสือโคร่งชนิดอื่นด้วย
ปัจจุบัน Bali tiger Caspian tiger และ Javan tiger ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว สำหรับชนิดของเสือโคร่งในเมืองไทยคือ Indo-chinese tiger
3 สายพันธุ์เสือโคร่งที่สูญพันธุ์แล้ว
Caspian tiger เคยมีถิ่นที่อยู่บริเวณ อาฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี มองโกเลีย
และตอนกลางเขตเอเชียของรัสเซีย
สายพันธุ์แคสเปียนนี้ คาดว่า สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2493
Javan tiger เคยมีถิ่นที่อยู่ในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สายพันธุ์ชวานี้
เคยมีคนเห็นครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. 2515
Bali tiger เคยมีถิ่นที่อยู่ในเกาะบาหลี อินโดนีเซีย ปัจจุบันนี้ก็สูญพันธุ์ไปแล้ว
เสือโคร่งที่ยังเหลืออยู่
Bengal Tiger สายพันธุ์เบงกอล
Indochinese Tiger สายพันธุ์อินโดไชนีส
South China Tiger สายพันธุ์เซ้าท์ไชน่า
Siberian Tiger สายพันธุ์ไซบีเรียน
Sumatran Tiger สายพันธุ์สุมาตรา
1.สายพันธุ์เบงกอล Bengal Tiger
แทบจะทั้งหมดของเสือโคร่งสายพันธุ์นี้ มีถิ่นอาศัยในอินเดีย มีบางส่วนอาศัยในเนปาล บลังคลาเทศ ภูฏาณ และตะวันตกของพม่า
เพศผู้ มีความยาว หัวถึงหาง ประมาณ 2.9 เมตร(9.5 ฟุต) หนักประมาณ 220 กก.
เพศเมีย ยาว 2.5 เมตร (8 ฟุต) หนักประมาณ 140 กก.
2.สายพันธุ์อินโดไชนีส Indo-chinese Tiger
มีถิ่นฐานอยู่ ในป่าเมืองไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียตนาม และทางตอนใต้ของจีน
สายพันธุ์นี้ มีลักษณะคล้ายกับสายพันธุ์เบงกอลมาก แต่จะเล็ก สั้น และสีเข้มกว่า
ริ้วดำบนตัว ก็จะแคบกว่าสายพันธุ์เบงกอล
เพศผู้ มีความยาว หัวถึงหางประมาณ 2.7 เมตร(9 ฟุต) หนักประมาณ 180 กก.
เพศเมีย ยาวประมาณ 2.4 เมตร (8 ฟุต) หนักประมาณ 115 กก.(250ปอนด์)
3. สายพันธุ์เซ้าท์ไชน่า South China
มีถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางและตะวันออกของจีน
ปัจจุบันสายพันธุ์นี้อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์มากที่สุด ในบรรดา 5 สายพันธุ์ที่เหลือ
ไม่มีให้เห็นในสภาพป่าธรรมชาติแล้ว ส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ จะอยู่ในสวนสัตว์ในจีน
เพศผู้ มีความยาวหัวถึงหางประมาณ 2.5 เมตร(8ฟุต) หนักประมาณ 150 กก.
เพศเมีย ยาวประมาณ 2.3 เมตร(7.5 ฟุต) หนักประมาณ 110 กก.
4.สายพันธุ์ไซบีเรียน Siberian Tiger
มีถิ่นฐานอยู่ทางตะวันออกของรัสเซียแทบทั้งหมด มีส่วนน้อยมากที่พบทางเหนือ
ของจีนและทางเหนือของเกาหลีเหนือ
เสือโคร่งสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่สีและริ้วจะซีดกว่าสายพันธุ์อื่น
ริ้วพาดตัวจะออกสีน้ำตาลมากว่าสีดำและริ้วห่างหรือกว้างกว่าสายพันธุ์อื่น
ขนตรงอกจะขาว มีขนยาวและหนา โดยเฉพาะรอบคอ
เพศผู้ มีความยาวหัวถึงหางประมาณ 3.3 เมตร(10.9ฟุต) หนักประมาณ 300 กก.
เพศเมีย ยาวประมาณ 2.6 เมตร หนักประมาณ 167 กก.
5.สายพันธุ์สุมาตรา Sumatran Tiger
พบอยู่เฉพาะเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น
เป็นสายพันธุ์เสือโคร่งที่เล็กที่สุด และมีสีเข้มมากที่สุด ริ้วสีดำกว้างและชิดกัน
บางทีริ้วเป็นคู่ ต่างจากสายพันธุ์ไซบีเรียนมาก
เพศผู้ มีความยาวหัวถึงหางประมาณ 2.4 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 120 กก.
เพศมี ยาวประมาณ 2.2 เมตร หนักประมาณ 90 กก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น