วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สัตว์โลกน่ารัก ตอน หมา


สุนัข หรือ หมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว 2 คู่ เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน 1 ชิ้น ที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis lupus familiaris สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายพันธุ์ เช่น ลาบราดอร์, โกลเด้น, ชิวาวา และอีกมากมาย มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ดุและไม่ดุ พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น โกลเด้น ลาบราดอร์ ที่มีขนาดเล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ ส่วนที่ดุ ได้แก่ ร็อดไวเลอร์ อัลเซเชียน สุนัขแต่ละพันธุ์จะมีนิสัยแตกต่างกัน
สุนัขพัฒนามาจาก
สัตว์กินเนื้อและล่าเหยื่อ ดังนั้นวิวัฒนาการของฟันสำหรับเคี้ยวเนื้อและกระดูกจึงยังคงมีอยู่ รวมทั้งการมีประสาทดมกลิ่นและตามล่าเหยื่อที่ดีมาก นอกจากนี้สุนัขยังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงทำให้วิ่งได้เร็วและเร่งความเร็วได้เท่าที่ต้องการ ลักษณะการเดินของสุนัขจะทิ้งน้ำหนักตัวบนนิ้วเท้า ซึ่งส่งผลให้สุนัขเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วกว่าสัตว์ชนิดอื่น นอกจากนี้สุนัขยังมีสัญชาตญาณในการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนั้นสุนัขจึงสามารถล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประวัติของสุนัข
สุนัขมีต้นกำเนิดมาจาก
สุนัขป่า มนุษย์แถบขั้วโลกเหนือนำมันมาเลี้ยงเมื่อประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว เชื่อกันว่า สุนัขป่าตัวแรกนั้น เกิดขึ้นเมื่อ 100 ล้านปีก่อน การอพยพข้ามถิ่นและทวีปต่าง ๆ ทำให้สุนัขมีหลายสายพันธุ์ ชาวจีนมีความเชื่อว่าสุนัขที่ชื่อ Fu มีความซื่อสัตย์ และนำความเจริญมาให้ เป็นสุนัขคล้ายพันธุ์ปักกิ่ง "ANUBIS" ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าโรมันที่ตัวเป็นคน หัวเป็นสุนัข และเชื่อว่าสามารถส่งวิญญาณมนุษย์ได้[2][3]
สุนัขพันธุ์ที่เรียกได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ต้นตระกูลคือพันธุ์สุนัขทองที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ต่อมามีสุนัขป่าอีกพันธุ์หนึ่งที่มนุษย์นำมาเลี้ยงมีชื่อภาษาละตินว่า Conis Lupees ซึ่งแปลว่าสุนัขป่า สุนัขป่าชนิดนี้จะเชื่องกว่าสุนัขธรรมดา มีขนยาว หางเป็นแผง หูตั้ง กระดูกแก้มโหนก และหางของมันจะเอนขึ้นข้างบน มีนิสัยรักอิสระกว่าสุนัขทอง สุนัขป่านี้เมื่อมาอยู่กับมนุษย์ก็ผสมพันธุ์กับสุนัขทอง ออกลูกหลานสืบมาเป็นสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย พันธุ์สุนัขที่เห็นทุกวันนี้ได้รับเชื้อสายมาจากสุนัขพันธุ์ทองเกือบทั้งหมด
การค้นคว้าวิจัยและศึกษาเรื่องราวของสุนัข ได้มีขึ้นในประเทศอังกฤษ ในแถบ
ยุโรปและอเมริกา แล้วจึงแพร่หลายไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดตั้งเป็นสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นในปี ค.ศ. 1878 (พ.ศ. 2421) สุนัขพันธุ์แท้ชนิดแรกที่ได้จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาคือ สุนัขพันธุ์อิงลิชเซทเตอร์ (English Setter) ในประเทศอังกฤษได้มีการรวบรวมกันตั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นเช่นกันในปี ค.ศ. 1859 (พ.ศ. 2402) ในครั้งแรกสมาคมนี้ได้รับรองให้จดทะเบียนสุนัขพันธุ์แท้ได้ 40 สายพันธุ์ และได้จัดวิธีการรับรองสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อความเหมาะสมถึง 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424) สมาคมนี้ได้ให้การรับรองพันธุ์แท้ต่าง ๆ รวมเป็นจำนวน 46 พันธุ์ การแก้ไขเพิ่มเติมการรับรองเป็นสุนัขพันธุ์แท้เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2417) ได้มีสุนัขที่ให้การรับรองทั้งหมด 100 สายพันธุ์
สำหรับใน
ประเทศไทยนั้น ก็มีผู้สนใจการเลี้ยงสุนัขรวบรวมกันจัดตั้งสมาคมขึ้นเช่นกัน โดยปรารถนาจะส่งเสริมบำรุงและอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้เลี้ยงสุนัขเหมือนกับต่างประเทศ โดยใช้ชื่อว่า สมาคมผู้นิยมสุนัขแห่งประเทศไทย ได้ทำการจดทะเบียนตั้งสมาคมเมื่อปี ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ถือเป็นการวางรากฐานในการเลี้ยงสุนัขขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรก และตั้งใจที่จะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงสุนัขในประเทศไทยได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ
[แก้] บรรพบุรุษ และที่มาของความเชื่อง
วิวัฒนาการด้านโมเลกุลของสุนัขชี้ให้เห็นว่าสุนัขเลี้ยงนั้น (Canis lupus familiaris) สืบทอดมาจากจำนวนประชากรหมาป่า (Canis lupus) เพียงตัวเดียวหรือหลายตัว สะท้อนให้เห็นถึงการตั้งชื่อพวกมัน สุนัขสืบทอดจากหมาป่าและสามารถผสมข้ามพันธุ์กับหมาป่าได้ด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสุนัขนั้นถูกฝังลึกในด้านโบราณคดีและหลักฐานที่ตรงกันชี้ให้เห็นช่วงเวลาของการทำให้สุนัขเชื่องใน
ยุคหินใหม่ ใกล้ ๆ กับขอบเขตของช่วงเพลสโตซีนและโฮโลซีน ในระหว่าง 17,000 - 14,000 ปีมาแล้ว ซากกระดูกฟอสซิลและการวิเคราะห์ยีนของสุนัขในยุคอดีตกับปัจจุบัน และประชากรหมาป่ายังไม่ถูกค้นพบ สุนัขทั้งหมดสืบอายุอาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เชื่องด้วยตัวเองหรือไม่ก็ได้ถูกทำให้เชื่องด้วยตัวมันเองในพื้นที่มากกว่าหนึ่งพื้นที่ สุนัขที่ถูกเลี้ยงให้เชื่องแล้วอาจจะผสมข้ามพันธุ์กับประชากรหมาป่าที่อยู่ในถิ่นนั้น ๆ ในหลาย ๆโอกาส กระบวนการนี้รู้จักในทางทางพันธุศาสตร์ว่า อินโทรเกรสชัน (Introgression)
ในยุคแรก ๆ ฟอสซิลสุนัข กะโหลก 2 จาก
รัสเซียและขากรรไกรล่างจากเยอรมนี พบเมื่อ 13,000 ถึง 17,000 ปีมาแล้ว บรรพบุรุษของมันเป็นหมาป่าโฮลาร์กติก (Canis lupus lupus) ซากศพของสุนัขตัวเล็กจากถ้ำของสมัยวัฒนธรรมนาทูเฟียนของยุคหินได้ถูกเก็บไว้ในแถบตะวันออกกลาง มีอายุราว 12,000 ปีมาแล้ว เข้าใจว่าเป็นทายาทมาจากหมาป่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาพศิลปะบนหินและซากกระดูกชี้ให้เห็นว่า เป็นเวลากว่า 14,000 ปีมาแล้วที่สุนัขในที่นี้กำเนิดจากแอฟริกาเหนือข้ามยูเรเชียไปถึงอเมริกาเหนือ หลุมฝังศพสุนัขที่สุสานยุคหินของเมืองสแวร์ดบอร์กในประเทศเดนมาร์กทำให้นึกไปถึงในยุคยุโรปโบราณว่าสุนัขมีค่าเป็นถึงเพื่อนร่วมทางของมนุษย์
การวิเคราะห์ทางยีนได้ให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เหมือนกันมาจนถึงทุกวันนี้ วิล่า ซาโวไลเนน และเพื่อนร่วมงาน พ.ศ. 2540 สรุปว่าบรรพบุรุษของสุนัขได้แยกออกจากหมาป่าชนิดอื่น ๆ มาเป็นเวลาระหว่าง 75,000 ถึง 135,000 ปีมาแล้ว เมื่อผลการวิเคราะห์ที่ตามมาโดยซาโวไลเนน พ.ศ. 2545 ชี้ให้เห็น เผ่าพันธุ์ดั้งเดิมจากกลุ่มยีนสำหรับประชากรสุนัขทั้งหมด ระหว่าง 40,000 ถึง 15,000 ปีมาแล้ว ในเอเชียตะวันออก เวอร์จีเนลลี่ พ.ศ. 2548 แนะนำว่าอย่างไรก็ดี ช่วงเวลาของทั้งคู่จะต้องถูกประเมินผลอีกครั้งในการค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า นาฬิกาโมเลกุลแบบเก่าที่ใช้วัดเวลานั้นได้กะเวลายุคสมัยของเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาเกินความจริง โดยในความจริง และในการเห็นพ้องกันว่าด้วยเรื่องหลักฐานทางโบราณคดี เป็นเวลาเพียง 15,000 ปีเท่านั้นที่ควรจะเป็นช่วงชีวิตสำหรับความหลากหลายของของสุนัขหมาป่า
สหภาพโซเวียตหรือประเทศรัสเซียในปัจจุบันเคยพยายามนำสุนัขจิ้งจอกมาเลี้ยงให้เชื่อง เช่นในสุนัขจิ้งจอกเงิน และสามารถนำมันมาเลี้ยงได้เพียงแค่ 9 ชั่วอายุของมันหรือน้อยกว่าอายุขัยของมนุษย์ นี่ยังเป็นผลในการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น เช่น สี ที่จะหลายเป็นสีดำ สีขาว หรือสีดำปนขาว พวกมันได้พัฒนาความสามารถในการขยายพันธุ์ตลอดปี หางที่โค้งงอมากขึ้น และหูที่ดูเหี่ยวย่น
ลักษณะทั่วไปและการล่าเหยื่อ
สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะที่ต่างกันออกไป แต่ลักษณะโดยรวมของสุนัขทั่ว ๆ ไปแล้ว สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ออกลูกเป็นตัว มีขนสั้นหรือยาวแตกต่างไปตามสายพันธุ์ บางตัวอาจมีขนสีดำ สีขาว สีน้ำตาล สีส้ม หรือบางตัวอาจมีหลายสีปะปนกัน ขนาดของหูจะสั้นหรือยาวก็แตกต่างไปตามสายพันธุ์เช่นกัน
สุนัขที่เลี้ยงในประเทศไทยนั้นจะมีทั้งพันธุ์ไทยเช่น บางแก้ว พันธุ์ไทยหลังอาน เป็นต้น หรือพันธุ์จากต่างประเทศเช่น ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ชีสุ พุดเดิ้ล ชิวาว่า เป็นต้น โดยถ้าเป็นพันธุ์ไทยส่วนใหญ่จะมีขนสั้นซึ่งตรงข้ามกับพันธุ์ต่างประเทศ
สุนัขสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
สุนัขล่าเนื้อ
สุนัขล่าเนื้อ (Hounds) สุนัขในกลุ่มนี้มีประสาทสัมผัสใน
การดมกลิ่นที่ดีมาก สรีระร่างกายแข็งแรง ทำให้สุนัขล่าเนื้อเป็นสุนัขรุ่นแรกๆ ที่ถูกมนุษย์นำมาใช้ล่าสัตว์ สุนัขล่าเนื้อนั้น อาจแบ่งย่อยได้อีก 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มสายตาดี เช่น สุนัขพันธุ์ เกรย์ฮาว์น อัฟกัน และ สะลูกี้ สุนัขพวกนี้จะมีความว่องไว วิ่งได้รวดเร็ว และมีสายตาดี สุนัขกลุ่มนี้จะมีรูปร่างสูง และช่วงขายาว
กลุ่มประสาทการรับกลิ่นดี เช่น บัสเสทฮาว์น ดัชชุน สุนัขประเภทนี้จะมีขาสั้นแต่ร่างกายแข็งแรง หัวใหญ่ หูแผ่กว้างใหญ่ และมีประสาทสัมผัสการรับกลิ่นที่ดีกว่ามนุษย์ถึง 1 ล้านเท่า
สุนัขเล่นกีฬา
สุนัขเล่นกีฬา (Sporting Dogs) เป็นสุนัขพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นผู้ช่วยในการล่าสัตว์โดยเฉพาะ มีหน้าที่การค้นหาเหยื่อ และนำเหยื่อกลับมาให้เจ้าของ เราสามารถแบ่งสุนัขเล่นกีฬาได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
สเปเนี่ยน เป็นพันธุ์สุนัขที่มีรูปร่างขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป เฉลียวฉลาด จมูกรับกลิ่นได้ดี ลักษณะเด่นคือหูยาวตูบ แบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่มคือ พันธุ์ที่ใช้ล่าสัตว์ และพันธุ์ขนาดเล็ก (ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มสุนัขที่เลี้ยงไว้ดูเล่น) ในขณะที่มันออกล่าสัตว์ เมื่อมันพบเหยื่อ มันจะพุ่งเข้าโจมตีเหยื่อทันที
พอยเตอร์ และเซทเตอร์ เป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าสเปเนี่ยน ขายาว หูตูบ และจมูกรับกลิ่นได้ดี
รีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขที่เป็นมิตร แข็งแรง มีโครงสร้างดี และ มีความเชี่ยวชาญในการล่าสัตว์ มันถนัด การค้นหา และนำเหยื่อกลับมาให้เจ้าของ มันมักจะทำงานร่วมกับสุนัขพันธุ์สเปเนี่ยน นอกจากนี้ รีทรีฟเวอร์ยังสามารถว่ายน้ำได้ดี มันจึงมักถูกใช้ในการล่า
สัตว์ปีกที่บินอยู่เหนือน้ำ เช่น ห่านป่า เป็นต้น
สุนัขเทอร์เรีย
สุนัขเทอร์เรีย (Terriers) เป็นสุนัขขนาดเล็ก ต้นกำเนิดอยู่ใน
ประเทศอังกฤษ มีนิสัยชอบดมกลิ่น อยากรู้อยากเห็น ตามรอย และขุดหาสิ่งที่สงสัย มันจึงกลายเป็นผู้ช่วยในการล่าสัตว์ สุนัขเทอร์เรียจะทำหน้าที่ตามรอยสัตว์ป่า เช่น กระต่าย หนู แบดเจอร์ หมาป่า เมื่อพบแหล่งที่อยู่อาศัยของเหยื่อ มันจะมุดลงไปในรูนั้น ทำให้สัตว์เหล่านั้นตกใจและวิ่งออกมาจากรัง เพื่อให้คนตามล่าต่อไป
แม้เทอร์เรียจะเป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก
ขาสั้น แต่เคลื่อนไหวได้อย่างว่องไว มีความมานะอดทน บากบั่น กล้าหาญ ทำให้มันเคยถูกใช้เป็นสุนัขสงคราม แต่ปัจจุบันนิยมนำมาเลี้ยงเป็นเพื่อนเล่นในบ้าน
สุนัขเทอร์เรียแยกย่อยได้อีกหลายสายพันธุ์ อาจแบ่งเทอร์เรียเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของขน ได้แก่
พันธุ์ขนเรียบและสั้น เช่น ฟอกซ์ เทอร์เรียขนสั้น
พันธุ์ขนหยาบและยาว เช่น สก็อตทิช เทอร์เรีย และ เคอรีบลู เทอร์เรีย เป็นต้น
บนเกาะอังกฤษนั้น มีสุนัขเทอร์เรียอีกมากมายหลายสายพันธุ์ กระจายไปตามท้องที่ต่าง ๆ แต่ส่วนหนึ่งได้กลายพันธุ์ไป เหลือแต่สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยม เช่น
ฟ็อกซ์ เทอร์เรีย, บูล เทอร์เรีย, แบดลิงตัน และ แมนเชสเตอร์ เทอร์เรีย จากเกาะอังกฤษ
สกาย, เครน และ สก็อตทิช เทอร์เรีย จากสก็อตแลนด์ ไอริช และเคอรีบลู เทอร์เรีย จากไอร์แลนด์ เป็นต้น
สุนัขทำงาน
สายพันธุ์สุนัขทำงาน (Working dogs) ได้จากการที่มนุษย์พบว่าสุนัขเป็นสัตว์ที่มีความสามารถเกินกว่าที่คาดไว้ มันมีความฉลาด แข็งแกร่ง ว่องไว มานะอดทน สายตาดี และติดตามกลิ่นได้อย่างดีเยี่ยม สุนัขจึงถูกคัดเลือกพันธุ์เพื่อใช้งาน นอกเหนือจากการล่าสัตว์ จึงได้สายพันธุ์นี้ ที่มีลักษณะเด่น แตกต่างกันไปและมีทักษะที่หลากหลาย
มนุษย์นำสุนัขมาใช้งาน เป็นเวลานับร้อยปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็น เลี้ยงเพื่อเฝ้ายาม สำรวจหาระเบิดในสงคราม ต้อนฝูงสัตว์ ลากสัมภาระ ตามรอยหาผู้ร้าย และ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ปัจจุบันยังมีสุนัขที่ถูกฝึกเลี้ยงไว้เพื่อเป็นผู้ช่วยตำรวจ นำทางให้กับคนพิการด้านสายตา ตรวจค้น
ยาเสพติด แก๊สรั่ว วัตถุระเบิด และช่วยเหลือผู้พิการด้านการได้ยินอีกด้วย ตัวอย่างของสายพันธุ์สุนัขตำรวจ ได้แก่ บ็อกเซอร์, พินซ์เช่อร์, โดเบอร์แมน, รอทไวเลอร์ เยอรมันเชพเพิร์ด, เกรดเดน เป็นต้น
ยังมีสุนัขทำงานอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของชาวไร่
ชาวนา เช่น คอลลี, พูลิ, โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก, เยอรมันเชพเพิร์ด, เช็ทแลนด์ ชีพด็อก และ คอร์กี้ โดยสุนัขพวกนี้ จะคอยช่วยเหลือชาวไร่ ในการเฝ้าดูแลฝูงปศุสัตว์ เนื่องจากพวกมันช่วยชาวไร่ทำงานได้ดีมาก ดังนั้น เกือบทุกประเทศที่มีการเลี้ยงสัตว์ จะมีการพัฒนา สายพันธุ์สุนัขต้อนสัตว์ จนได้พันธุ์สุนัขประจำถิ่นของตนเอง เช่น คอลลี จากสก็อตแลนด์ พูลิ จากฮังการี และ คอร์กี้ จากเวลส์ เป็นต้น
สุนัขเป็นสัตว์ที่มีความอดทน และแข็งแกร่ง จนสามารถช่วยมนุษย์ทำงานหนัก ๆ ได้ นอกจากนี้ ประเทศในเขตอากาศหนาวมาก ๆ ซึ่งการเดินทาง เป็นไปด้วยความยากลำบาก ยังใช้สุนัข เช่น อะลาสกัน มาลามูท, ไซบีเรียน ฮัสกี้ และ ซามอยด์ เพื่อเป็น
พาหนะเดินทาง โดยสามารถวิ่งได้ระยะทางถึง 160 กิโลเมตร ในเวลา 18 ชั่วโมง
สุนัขแต่ละตัวมักจะมีความสามารถเฉพาะอย่าง มนุษย์มักใช้สุนัขทำงานอีกหลายประเภท โดยสุนัขบางพันธุ์ถูกฝึกเพื่อทำงานเฉพาะอย่าง เช่น สุนัขเซนต์ เบอร์นาร์ดถูกฝึกให้ค้นหา และนำ
บรั่นดีไปให้กับผู้หลงทางในหิมะ เบอร์นีส เมาน์เทน ช่วยลากเลื่อนที่บรรทุกนมและเนยไปส่งที่ตลาด โปรตุกีส วอเทอร์ ด็อก ช่วยดำน้ำงมหาอวนและเครื่องมือหาปลาที่ตกน้ำ หรือแม้กระทั่งปลาที่หลุดออกไปจากอวน นอกจากนี้ ยังมีสุนัขที่ทำหน้าที่ประหลาดที่สุด คือ สุนัขพันธุ์นอร์วีเจียน ลุนเดฮันด์ กลายเป็นสุนัขที่ใช่ในการล่านก โดยถูกฝึกมาให้ทำงานในถ้ำ หรือหน้าผาที่สูงชัน เพื่อจู่โจมกับรังนกพัฟฟินอีกด้วย
สุนัขตุ๊กตา
สุนัขตุ๊กตา (Toy) เป็นสุนัขตัวเล็กๆ เดิมเป็นสุนัขตัวใหญ่ แต่ถูกพัฒนาพันธุ์จนกลายเป็นสุนัขตัวเล็ก สุนัขประเภทนี้เหมาะสำหรับ เลี้ยงไว้แก้เหงา มันสามารถแก้เหงาให้กับคนชราที่ถูกทอดทิ้ง คนป่วย รวมไปถึงเด็ก ๆ ให้หายจากความโดดเดี่ยว
สุนัขตุ๊กตาถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อหลายพันปีมาแล้ว โดยเมื่อ 4,000 ปีก่อน สุนัขสิงโต (Lion Dogs) ที่หน้าตาคล้าย ๆ กับ สุนัขปักกิ่งใน
จีน และพบแลปด็อกส์ ที่โด่งดังในกลุ่มชาวโรมัน ในสมัยก่อนนั้น สุนัขตุ๊กตาเป็นที่นิยมมากในกลุ่มผู้หญิง และเด็ก ๆ ในสังคมชั้นสูง
แม้ว่าสุนัขตุ๊กตาจะตัวเล็ก แต่มันก็ยังมีสัญชาตญาณของสุนัขอยู่ครบถ้วน มันพร้อมที่จะปกป้องเจ้านาย และบ้านที่มันอาศัยอยู่ โดยการเห่าเสียงดัง ๆ หรือร้องครวญคราง เพื่อเตือนเมื่อมีผู้บุกรุก และบางตัวอาจจู่โจมผู้บุกรุกก็มี
สุนัขอเนกประสงค์
สุนัขอเนกประสงค์ (Non Sporting) เป็นสุนัขนานาประโยชน์ตามแต่เจ้าของจะใช้งาน สุนัขพวกนี้หลาย ๆ พันธุ์มีผู้นิยมซื้อมาเลี้ยงกันมาก อย่างเช่น สุนัขพันธุ์ดัลเมเชี่ยน เป็นต้น เนื่องจากเป็นสุนัขที่ประโยชน์ใช้สอยที่ไม่ธรรมดา สุนัขพันธุ์ลาซา แอพโซ่ เป็นสุนัขที่
ลามะในธิเบตเลี้ยงไว้เพื่อป้องกันภัย และถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ สำหรับสุนัขพันธุ์เชาเชา ซึ่งถือกำเนิดในมองโกเลียเมื่อ 3,000 ปีก่อน ในช่วงแรก ๆ เป็นสุนัขที่ถูกใช้ในสงคราม แต่ต่อมากลับถูกชาวจีนฆ่าเพื่อเป็นอาหาร และนำเอาขนของมันไปทำเครื่องนุ่งห่ม
ความรู้สึกและสัญชาตญาณ
สุนัขแต่ละตัวและแต่ละสายพันธุ์ มีสัญชาตญาณของตนเอง นับตั้งแต่เริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลง จากสุนัขป่ามาเป็นสุนัขเลี้ยง ได้มีการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์สุนัขสืบทอดกันมามากกว่า 4,000 ชั่วอายุ ทำให้ลักษณะร่างกายของสุนัขหลายสายพันธุ์ เปลี่ยนแปลงไปจากบรรพบุรุษของพวกมันอย่างมาก แต่สุนัขแต่ละสายพันธุ์ยังคงรักษาลักษณะพฤติกรรมของสุนัขป่าที่มันเคยเป็นไว้ได้ไม่มากก็น้อย ทั้งสุนัขป่าและสุนัขเลี้ยงมีวิธีสื่อสารโดยการเห่า การใช้ภาษากาย และสัญชาตญาณในการรวมกลุ่ม
ลักษณะทางกายภาพ
การผสมพันธุ์สุนัขสมัยใหม่ได้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในเรื่องของขนาด รูปร่างหน้าตา และพฤติกรรมมากกว่าสัตว์เลี้ยงในบ้านชนิดอื่นๆ สุนัขจะได้คุณสมบัติต่าง ๆ จากบรรพบุรุษของมัน ซึ่งก็คือหมาป่า สุนัขเป็นผู้ล่าและสัตว์ที่ชอบคุ้ยหาของตามกองขยะ มันมีฟันที่แหลมคมและฟันเขี้ยวที่แข็งแรงสำหรับจู่โจม จับถือและฉีกอาหารของพวกมัน แม้ว่าการผสมพันธุ์ที่เลือกไว้เพื่อขยายพันธุ์ได้เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของการผสมพันธุ์ต่าง ๆ สุนัขทุกตัวจะจดจำคุณสมบัติต่าง ๆ จากบรรพบุรุษรุ่นแรก ๆ เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่กินสัตว์เป็นอาหารอื่น ๆ ทั่วไป สุนัขมีกล้ามเนื้ออันทรงกำลัง กระดูกข้อเท้าที่ต่อเข้าด้วยกัน มีระบบ
หัวใจและหลอดเลือดที่คอยช่วยให้สุนัขวิ่งได้ดีและมีความอดทนอดกลั้น และมีฟันที่ใช้สำหรับจับและฉีกอาหาร ไม่เหมือนกับมนุษย์ที่เดินด้วยฝ่าเท้า แต่สุนัขเดินด้วยฝ่ามือและฝ่าเท้าพร้อม ๆ กัน

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สัตว์โลกน่ารัก ตอน แมว







แมวมีชื่อเรียกทั่วไปในภาษาลาตินว่า "เฟลิส คาตัส" (Felis Catus) เป็นสัตว์เก่าแก่ดึกดำบรรพ์ แมวมีอยู่ในทุกทวีป รูปร่างลักษณะและโครงสร้างคล้ายคลึงกัน แต่ขนาดอาจผิดกันและความยาวของขนต่างกัน แมวเมืองหนาวมีขนยาวกว่าแมวในเมืองร้อน แมวที่นิยมเลี้ยงกันมีหลายพันธุ์ เช่นพันธุ์เปอร์เซีย และพันธุ์ไทยเป็นต้นชาวตะวันตกเชื่อว่าแมวนั้นเดิมเป็นสัตว์ในแอฟริกา ชาวอียิปต์นำมาเลี้ยงไว้ในบ้าน แมวจึงอยู่กับคนเรื่อยมา จนในที่สุด เผ่าพันธุ์ของแมวก็กระจายไปทุกหนทุกแห่งทั่วโลก แมวพันธุ์แรกคือ อบิสซีเนียขายาว หน้าแหลมยาว ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะออกไปต่างๆ นานาตามหลักทางชีววิทยา แต่แมวที่ยังคงลักษณะรูปเดิม คือมีรูปร่างเพรียว หน้าแหลม ตาคม สัญนิฐานว่าเหลือเพียงสามพันธุ์ในโลก คือ แมวอบิสซิเนียน แมวอียิปต์ และแมวไทยแมวทั้งสามพันธุ์นี้หน้าตาไม่แตกต่างกันมากนัก สองชนิดแรกสัญนิฐานว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้ว คงเหลือแต่"แมวไทย"ที่นับเป็นพันธุ์เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่พันธุ์เดียว บรรพบุรุษของแมวไทยน่าจะเป็นแมวอียิปต์ เพราะมีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกันมาก โดยที่ทางอียิปต์เรียกแมวว่า "เมียว" มีข้อสันนิษฐาน การมาของแมวมายังแถบตะวันออกว่าว่า ในการเดินเรือการค้าสมัยโบราณจากอียิปต์มายังแถบตะวันออก อาจจะมีกะลาสีเอาแมวใส่ไว้ในเรือเพื่อจับหนู แมวอียิปต์จึงมาเผยแพร่ถึงทางตะวันออกก็เป็นได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานใดที่สามารถยืนยันในสมมติฐานข้อนี้ได้
อีกบทความ
แมว มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Felis Catus นักชีววิทยาค้นพบว่า บรรพบุรุษของแมวถือกำเนิดขึ้นกว่า 50 ล้านปีมาแล้ว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และกินเนื้อเป็นอาหาร เรียกว่า Miacis และได้วิวัฒนาการขั้นมาจนเริ่มมีลักษณะคล้ายแมวเมื่อ 10 ล้านปีก่อน มีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกับแมวป่าที่มีเขี้ยวขนาดใหญ่ เรียกว่า Dinistis
ต้นตระกูลของแมวบ้านจริงๆนั้น แยกออกมาจากตระกูลของ เสือไซบีเรียน และแมวพื้นเมืองต่างๆ ในปัจจุบันสายพันธุ์แมวถูกรวบรวมไว้ถึง 36 ตระกูล 51 ชนิด (รวมทั้งสิงโตและเสือต่างๆด้วย) ต่อมาถึงยุคอียิปต์โบราณ ประมาณ 4,000 กว่าปีก่อน พวกชาวนาได้นำแมวป่า (แมวพื้นเมืองของอียิปต์) มาฝึกให้เชื่อง เพื่อใช้จับหนูในโรงนาและเมื่อหนูในโรงนาหมดไป ก้อทำให้ผลิตผลและพืชพันธุ์มีความเสียหายน้อยลง ประชาชนก็มีอาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้น และไม่มีโรคภัยที่เกิดจากหนูอีกด้วยชาวอียิปต์จึงนับถือแมวเป็นสัตว์เทพเจ้า ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้า "Bastet" (เทวีบัสเตต) ซึ่งมีตัวเป็นคน แต่มีหัวเป็นแมว เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก และความอุดมสมบูรณ์ นอกจากชาวอียิปต์จะใช้แมวจับหนูในโรงนาแล้ว ยังใช้แมวจับหนูบนเรือสินค้าอีกด้วย ตรงจุดนี้ เลยเกิดความเชื่อว่า เมื่อเรือเทียบท่า แมวก็ลงจากเรือ แต่ไม่ได้กลับขึ้นเรือจึงทำให้แมวขนาดพันธุ์ไปทั่วโลก
ชาวอียิปต์โบราณนั้นนับถือแมวถึงขนาดแมวในบ้านตาย ยังต้องนำไปทำมัมมี่เลย (มัมมี่คนจะทำเฉพาะราชวงศ์และขุนนางเท่านั้น) มัมมี่แมวสามารถหาดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ ในเมื่อแมวเป็นสัตว์เทพเจ้าของอียิปต์โบราณ จึงมีกฎ หากใครฆ่าแมว จะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก พวกที่ต้องการยึดครองอาณาจักรอียิปต์โบราณ จึงใช้วิธีชั่วร้าย "อุ้มแมวไปรบ" แล้วพวกทหารอียิปต์จะสู้ได้อย่างไร (เป็นส่วนหนึ่งของการรบอียิปต์ไม่ได้ล่มสลายเพราะแมว) แต่ถึงอียิปต์โบราณจะล่มสลายไปแล้ว ชาวอียิปต์ในสมัยก่อนยังนับถือบูชาแมวเหมือนเดิม ขนาดชาวโรมันบางคน (สมัยนั้นโรมันปกครองอียิปต์) ฆ่าแมวยังถูกพวกอียิปต์ลงโทษเลย
ต่อมาเข้าสู่ยุคกลางในยุโรป มีความเชื่อเรื่องแม่มด และความชั่วร้ายต่างๆ ชาวยุโรปในยุคนี้กล่าวหาว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงของแม่มด (โดยเฉพาะแมวดำ) ดังนั้นใครเลี้ยงแมว จะถูกประณามว่าเป็นแม่มดร้าย ยิ่งเป็นคนแก่เลี้ยงแมวยิ่งแล้วใหญ่ พวกนี้มักจะโดนเผาทั้งเป็น ทั้งคนและแมว ดังนั้นเมื่อแมวน้อยลง จึงทำให้มีหนูมากขึ้น ทำให้กาฬโรคระบาดหนักในยุโรปช่วงนั้น
ในยุคใกล้ๆกัน แถบเอเชียอย่างญี่ปุ่นกับจีน เริ่มเลี้ยงแมวกันมากขึ้นจากเดิมที่เคยเลี้ยงอยู่แล้ว และที่ญี่ปุ่นก็ยังใช้แมวเป็นสัญลักษณ์นำโชคอีกด้วย จะเห็นได้จาก "แมวกวัก" ที่ใช้กันตามร้านค้า จะใช้กวักลูกค้า หรือกวักเงินก็แล้วแต่ท่าทางของแมวตัวนั้น และที่จีนก็เชื่อว่า แมวเป็นสัตว์นำโชค เพราะว่าแมวจะเข้ามาอยู่ในบ้าน ก็ต่อเมื่อมันพอใจที่จะอยู่เท่านั้น เมื่อมันเข้ามาอยู่แล้วเจ้าของบ้าน มักจะมีโชคลาภมา
ในประเทศไทยก็เริ่มมีการเลี้ยงแมวมา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เลี้ยงไว้เพื่อใช้จับหนูเหมือนกับชาวอียิปต์นั่นแหละ จนมีตำราแมวให้คุณ-ให้โทษ แมวไทยคู่แรกที่ออกจากประเทศไทย ไปสู่สายตาชาวโลก ถูกนำออกไปโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงประราชทานให้กับ Mr. Owen Gould กงศุลอังกฤษประจำกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2427 ซึ่งได้นำแมวคู่นี้ไปให้น้องสาวที่อังกฤษ แมวไทยคู่นี้เป็นแมววิเชียรมาศแต้มสีครั่ง และในปี พ.ศ. 2428 แมวไทยคู่นี้ถูกส่งเข้าประกวดในงานแมวที่ The Crystal Palace ณ ประเทศอังกฤษ ผลการประกวด ปรากฏว่า แมวไทยคู่นี้ชนะเลิศในการประกวด จากการประกวดครั้งน ี้ทำให้ชาวอังกฤษนิยมเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น และได้จัดตั้ง The Siamese Cat Clubs ขึ้นในปี 2443 และ The Siamese Cat Society of the British Empire ขึ้นในปี พ.ศ. 2471 หลังจากที่แมวไทยคู่นี้ได้ทำเชื่อเสียง ในอังกฤษ ร.5 ทรงเห็นว่า แมวไทยเป็นสัญลักษณ์ ที่สามารถทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักของประเทศทั่วโลก จึงได้พระราชทานแมวไทย ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน หลายประเทศ และจากสิ่งที่พระองค์ได้ทรงกระทำนั้น ทำให้แมวไทย และประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเลยทีเดียว

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

กระต่าย จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Leporidae มีลำตัวขนาดเล็ก ขนปุย หูยาว พบในหลายแห่งของโลก มีสัตว์ 7 สกุลจัดอยู่ในวงศ์ของกระต่าย ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว ขุดดินเป็นโพรงอาศัย ส่วนที่นำมาเลี้ยงตามบ้าน มีหลายชนิดและหลายสี แต่ที่พบมากจะเป็นสีอ่อนเช่นสีขาว เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus
กระต่ายมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ โดยสามารถใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ได้แก่ กระต่ายแคระ กระต่ายขนาดเล็ก กระต่ายขนาดกลาง และกระต่ายขนาดใหญ่
กระต่ายแคระ เช่น
เนเธอร์แลนด์ดวอฟ โปลิช ดวอฟโอโท เป็นต้น
กระต่ายขนาดเล็ก ได้แก่ ฮอลแลนด์ลอป อเมริกันฟัซซี่ลอป มินิเร็กซ์ ดัทช์ เป็นต้น
กระต่ายขนาดกลาง เช่น ซาติน แคลิฟอร์เนียน นิวซีแลนด์ไวท์ เป็นต้น
กระต่ายขนาดใหญ่ ได้แก่ เฟลมมิชไจแอนท์ เฟร้นช์ลอป อิงลิชลอป เชคเกิร์ตไจแอนท์ เป็นต้น