อาหารหน้าร้อน
การรับประทานอาหารไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลใดก็ตามรับประทานอาหารที่ให้พลังงานมากนั่น คือ อาหารไขมัน ในทางตรงกันข้ามหน้าร้อนเราไม่ต้องการพลังงานเพื่อสร้างความร้อนมาก เราจึงต้องได้รับครบทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีนไขมัน ผลไม้ / ผักสด น้ำ และเกลือแร่ หากมีความแตกต่างในปริมาณของแต่ละหมู่ตามสภาพของอากาศ เช่น อากาศเย็นหรือหน้าหนาวเราต้องการพลังงานมาก เราจึงต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน และจากการเสียเหงื่อเพื่อระบายความร้อน เราจึงต้องทดแทนด้วยน้ำและเกลือแร่ อาหารที่เรารับประทานกันมากในหน้าร้อน จึงมักเป็นแกงส้ม ต้มยำ ต้มโคล้งหรือยำประเภทต่าง ๆ ขนมหวานมักเป็นผลไม้ลอยแก้วที่ไม่มีกะทิ
โรคที่มากับหน้าร้อนส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหร เพราะว่าอุณหภูมิในหน้าร้อนเ ป็นอุณหภูมิที่เชื้อโรคชอบเป็นพิเศษ และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว อาหารที่ปรุงเสร็จแล้วถ้าไม่เก็บให้ถูกต้องจะเสียเร็ว โดยเฉพาะอาหารที่ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบ ไม่ใช่แต่อาหารที่ปรุงเสร็จแล้วอย่างเดียว อาหารสดก็เช่นกันจะเสียเร็วกว่าปกติ เพราะอาหารสดส่วนใหญ่จะต้องเก็บในอุณหภมิที่ต่ำ นอกจากอาหารแล้วหน้าร้อนนี้เครื่องดื่มก็สำคัญ โดยเฉพาะน้ำแข็ง ยิ่งร้อนมากเท่าไรยิ่งอยากทานน้ำแข็งมากขึ้นเท่านั้น น้ำที่นำมาทำน้ำแข็งหรือภาชนะที่บรรจุอาจไม่สะอาด อาการอีกอย่างที่ชอบ เกิดในหน้าร้อนก็คือ อาการเบื่ออาหาร เวลาอากาศร้อนมาก ๆ จะทำให้คนเราเบื่ออาหาร ทานไม่ลง ทานไม่เป็นเวลา ทานอาหารผิดประเภท
วิธีแก้ไขง่าย ๆ มีดังนี้
- ทำน้ำแข็งเองจากน้ำต้มหรือน้ำกรอง
- ไม่ควรเก็บกับข้าวไว้นอกตู้เย็น
- อาหารสดต้องเก็บในตู้เย็น ควรล้างให้สะอาดก่อนเก็บในตู้เย็น เพราะความเย็นไม่ได้ฆ่าเชื้อ เพียงแต่ยับยั้ง การ
เจริญเติบโตของเชื้อโรคเท่านั้น
- พยายามกินอาหารให้ตรงเวลา
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการปอกหรือหั่นอาหารที่จะกินสด ๆ หรือต้มสุกแล้ว ต้องล้างให้สะอาด และเก็บในภาชนะที่
สะอาดปราศจาก แมลงต่าง ๆ ที่เป็นพาหนะของเชื้อโรค
- เนื้อสัตว์ที่รับประทานไม่ควรเป็นชนิดที่สุก ๆ ดิบ ๆ
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ
- น้ำมะตูม เป็นเครื่องดื่มโบราณที่นิยมดื่มกินในหน้าร้อน เพราะนอกจากจะมีกลิ่นหอมชื่นใจ ช่วยแก้กระหายแล้ว
ยังมีสรรพคุณ ในการทำลายเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง
- น้ำยาอุทัยที่เคยนิยมเหยาะใส่น้ำเย็นดื่มแล้วชื่นใจ มีสรรพคุณเช่นเดียวกับน้ำมะตูม