วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

สิงโต้สิงโต...............


สิงโต จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. tigris altaica) พื้นลำตัวสีสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี
ถิ่นกำเนิด
สิงโตในอดีตพบกระจายอยู่ตามทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก มีสายพันธุ์มากมาย แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ปัจจุบันพบเพียงแค่ในทวีปแอฟริกา ในทวีปเอเชียยังคงมีอยู่บ้าง เช่น บางแห่งในประเทศอินเดียแถบตะวันตก มี 6 สายพันธุ์ย่อย พบในทวีปแอฟริกา 5 สายพันธุ์ คือ สิงโตเซเนกัล (P. l. senegalensis) พบในประเทศเซเนกัลและไนจีเรีย, สิงโตมาไซ (P. l. nubica) พบในเอธิโอเปีย, โมซัมบิก, เคนยา, แทนซาเนีย, สิงโตคองโก (P. l. azandica) พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, สิงโคกาทังกา หรือ สิงโตแองโกลัน (P. l. bleyenbergh) พบในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ในประเทศนามิเบีย, แองโกลา, บอตสวานา, ซาอีร์, แซมเบีย, ซิมบับเว และสิงโตขาว หรือ สิงโตทรานเวล (P. l. krugeri) พบในทวีปแอฟริกาตอนใต้บริเวณอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ซึ่งเป็นพันธุ์ย่อยอีกชนิดของสิงโตแอฟริกา ซึ่งมีสีขาวตลอดทั้งลำตัว แต่ไม่ใช่สิงโตเผือก เพิ่งมีการค้นพบและศึกษาเมื่อไม่นานมานี้
และในทวีปเอเชีย คือ สิงโตอินเดีย หรือสิงโตเอเชีย (P. l. persica) ซึ่งตัวเล็กกว่าสิงโตในทวีปแอฟริกา พบในภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงอินเดียตอนเหนือและภาคตะวันต
สายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
• สิงโตอเมริกาเหนือ (P. l. atrox) พบในทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกาใต้ มีความยาวลำตัวถึง 3.5 เมตร นับว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาสิงโตทั้งหมด มีอายุอยู่เมื่อราว 10,000 ปีก่อน ก่อนจะสูญพันธุ์ไปในยุคน้ำแข็ง
• สิงโตยุโรป (P. l. spelaea) หรือ สิงโตถ้ำยุโรป พบในทวีปยุโรปทางตอนเหนือไปจนถึงไซบีเรีย สูญพันธุ์ไปในยุคน้ำแข็งเช่นเดียวกัน
• สิงโตถ้ำยุโรปกลาง (P. l. fossilis) พบในทวีปยุโรปตอนกลาง บริเวณประเทศเยอรมนีและอิตาลี มีอายุฟอสซิลเก่าแก่ที่สุด คือ 500,000 ปีก่อน
• สิงโตไซบีเรียตะวันออก (P. l. vereshchagini) พบในไซบีเรียตะวันออกจนถึงอลาสกา มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าสิงโตถ้ำยุโรป แต่เล็กกว่าสิงโตอเมริกาเหนือ มีกะโหลกศีรษะที่ได้สัดส่วน
• สิงโตบาร์บารี (P. l. leo) พบในทวีปแอฟริกา เป็นสิงโตที่เพิ่งสูญพันธุ์ในยุคปัจจุบันนี้ จากการล่าของมนุษย์ นับเป็นสิงโตสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา มีความยาวลำตัวถึง 3-3. เมตร พบในอียิปต์จนถึงโมร็อกโก มีแผงคอที่ใหญ่และยาวที่สุด มีสีดำปนอยู่ สิงโตบาร์บารีตัวสุดท้ายถูกฆ่าตายเมื่อ ปี ค.ศ. 1922 ในโมร็อกโก ปัจจุบันมีสิงโตบางตัวที่ถูกสันนิษฐานว่าอาจเป็นสิงโตบาร์บารีในสวนสัตว์บางแห่ง แต่ยังไม่มีการศึกษาแน่ชัดว่าใช่หรือไม่
• สิงโตถ้ำแอฟริกา (P. l. melanochaita) พบในทวีปแอฟริกาเช่นกัน สูญพันธุ์ราวปี ค.ศ. 1860 แต่จากการศึกษาดีเอ็นเอในปัจจุบัน พบว่ามีความใกล้เคียงกับสิงโตขาวหรือสิงโตทรานเวล

ลักษณะ
สิงโตแอฟริกา และสิงโตอินเดียไม่มีลักษณะที่แตกต่างกันไม่มีลายตามตัวอย่างเสือ ตัวผู้โตเต็มที่ขนคอยาวรอบคอ ดูสง่าน่าเกรงขามจนมีสมญาว่าเป็น "เจ้าแห่งสัตว์ป่า" ตัวเมียไม่มีขนรอบคอ ปลายหางขนเป็นพู่ คำรามมีเสียงดังมากได้ยินไปไกล การคำรามเป็นการช่วยเรียกตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ด้วย
ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง ขนาดของฝูงขึ้นอยู่กับปริมาณของเหยื่อ ถ้าเหยื่อมีมากและขนาดใหญ่มากและขนาดของเหยื่อใหญ่ก็จะอยู่รวมกันเป็นฝูง นิสัยของมันไม่กล้าหาญนัก ใช้เวลาส่วนใหญ่ในตอนกลางวันเพื่อนอนพักใต้ร่มไม้ โดยมีเวลานอนนานถึงวันละ 20 ชั่วโมง ล่าเหยื่อเมื่อหิว หน้าที่ล่าเหยื่อจะเป็นของตัวเมียเป็นส่วนใหญ่ มันชอบกินซากสัตว์ที่เน่าแล้วด้วย ตัวผู้มักไม่ล่าเหยื่อเอง ตัวผู้จะคอยกันตัวเมียออกจากซากเหยื่อเพื่อกินอาหารก่อนในฐานะจ่าฝูง สิงโตออกหากินกลางคืน ตั้งแต่มืดไปจนถึงเที่ยงคืนเมื่อกินเหยื่อเสร็จ แล้วต้องกินน้ำ นอนพัก ตอนเช้าจึงจะกลับที่อยู่ ลักษณะการล่าเหยื่อของมันมีหลายวิธี เช่น ซุ่มซ่อนตัวตัวตามพุ่มไม้สูง ๆ การล่าเหยื่อทั้งแบบไล่เดี่ยวและเป็นกลุ่ม ฯลฯ แต่ไม่ว่าวิธีใดก็ตามมันจะพยายามเข้าไปใกล้เหยื่อให้มากที่สุดก่อนที่จะกระโดดเข้าตะครุบเหยื่อหรือออกล่าเหยื่อ เพื่อให้เหยื่อมีเวลาหนีน้อยที่สุด เพราะสิงโตจะวิ่งได้เร็วในช่วงสั้น ๆ เท่านั้นฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอนมีได้ทุกเวลาตลอดปี ระยะของการเป็นสัดนาน 4-16 วัน ตัวเมียเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 3 ปี ตัวผู้ประมาณ 4-6 ปี เคยมีรายงานอายุ 2 ปี ก็ผสมพันธุ์ได้ ตั้งท้องนานราว 100 วัน ตกลูกครั้งละ 3-5 ตัว เคยมีรายงานได้ลูกถึง 7 ตัว ลูกอดนมเมื่ออายุ 3-6 เดือน อายุยืนประมาณ 30-60 ปี ลูกตัวที่อ่อนแออจถูกทิ้งให้ตายหรือถูกกินในหมู่สิงโตด้วยกัน
อาหาร
สิงโตกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มันกินสัตว์ได้แทบทุกชนิด เช่น กระต่าย ไก่ป่า จระเข้ ลิง เม่น กวาง ม้าลาย ควายป่า เป็นต้น แม้แต่ซากสิงโตด้วยกันเองก็กิน ลูกสิงโตที่อ่อนแอจะถูกกินเพื่อให้ตัวที่แข็งแรงกว่าได้อยู่รอด

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

เสือดำน่ากลัววววววววว

เสือดำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ฟิลิดี (Felidae) เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง (Panthera tigris) ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือมีสีเหลือง มีลายจุดสีดำแต้ม บริเวณลำตัวเป็นจำนวนมากโดยลายจุดจะเรียงตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยจะปรากฏเฉพาะที่บริเวณด้านหลังและด้านข้างของลำตัว แตกต่างจากบริเวณส่วนหัว ขา เท้า บริเวณใต้ท้องที่จะมีจุดสีดำปรากฏอยู่เช่นเดียวกับขนใต้ท้องที่มีสีขาวหรือ สีเทา ขนาดความยาวหัวถึงลำตัว 107-129 เซนติเมตร หางมีความยาว 79.2 - 99.1 เซนติเมตร ใบหูมีความยาว 6.5 - 7.4 เซนติเมตร และหนัก 45 - 65 กิโลกรัม

เสือดาวและเสือดำ จัดอยู่ในเสือชนิดเดียวกัน ซึ่งส่วนมากคนโดยทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เสือดาว และ เสือดำ เป็นเสือคนละชนิด ซึ่งในการผสมพันธุ์ของเสือดาว ลูกเสือที่เกิดใหม่ในครอกเดียวกัน อาจมีลูกเสือได้ทั้งสองชนิดคือเสือดาวและเสือดำ โดยที่เสือดำจะมีสีขนปกคลุมร่างกายด้วยสีดำ ซึ่งมีลายจุดเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่กลมกลืนกับสีขนทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด เสือดำมีชื่อเรียกได้หลายอย่างเช่น เสือลายตลับ เสือลายจ้ำหลอด

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

เสือดาวน่ารักกกกก


เสือดาว หรือ เสือดำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ฟิลิดี (Felidae) เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง (Panthera tigris) ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือมีสีเหลือง มีลายจุดสีดำแต้มบริเวณลำตัวเป็นจำนวนมากโดยลายจุดจะเรียงตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยจะปรากฏเฉพาะที่บริเวณด้านหลังและด้านข้างของลำตัว แตกต่างจากบริเวณส่วนหัว ขา เท้า บริเวณใต้ท้องที่จะมีจุดสีดำปรากฏอยู่เช่นเดียวกับขนใต้ท้องที่มีสีขาวหรือสีเทา ขนาดความยาวหัวถึงลำตัว 107-129 เซนติเมตร หางมีความยาว 79.2 - 99.1 เซนติเมตร ใบหูมีความยาว 6.5 - 7.4 เซนติเมตร และหนัก 45 - 65 กิโลกรัม

เสือดาวและเสือดำ จัดอยู่ในเสือชนิดเดียวกัน ซึ่งส่วนมากคนโดยทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เสือดาว และ เสือดำ เป็นเสือคนละชนิด ซึ่งในการผสมพันธุ์ของเสือดาว ลูกเสือที่เกิดใหม่ในครอกเดียวกัน อาจมีลูกเสือได้ทั้งสองชนิดคือเสือดาวและเสือดำ โดยที่เสือดำจะมีสีขนปกคลุมร่างกายด้วยสีดำ ซึ่งมีลายจุดเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่กลมกลืนกับสีขนทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด เสือดำมีชื่อเรียกได้หลายอย่างเช่น เสือลายตลับ เสือลายจ้ำหลอด
ลักษณะทั่วไป
เป็นสัตว์เลือดอุ่น มักอยู่อาศัยในป่าโปร่ง สามารถขึ้นล่าเหยื่อบนต้นไม้ หรือ ลากเหยื่อไปกิน บนต้นไม้เพื่อหลีกหนีจากศัตรูได้ ตามลำตัวมีลายจุดสีดำ บนพื้นเหลือง

สถานภาพปัจจุบัน
สถานภาพตามกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง VU มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ สถานภาพในธรรมชาติ IUCN (1996) LR/lcCITES (1996) Appendix I และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ของประเทศไทยด้วย

รูปร่างลักษณะ
เสือดาว กับ เสือดำ เป็นเสือชนิดเดียวกัน ในลูกเสือครอกเดียวกันมีได้ทั้งเสือดำและเสือดาว

เสือดาว จะมีลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีเหลือง และมีลายจุดสีดำเป็นจำนวนมาก ลักษณะลายเป็นจุดเรียงตัวกันเป็นกลุ่มดอก ปรากฏเฉพาะบริเวณด้านหลังและด้านข้างลำตัว ส่วนที่หัว ขา เท้า และใต้ท้อง เป็นจุดสีดำโดด ๆ ส่วนขนใต้ท้องเป็นสีขาวหรือสีเทา
เสือดำ จะมีสีพื้นตามลำตัวเป็นสีดำ ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าเสือดำก็มีลายเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่มองเห็นไม่ชัดนัก แต่จะมองได้เด่นชัดถ้าอยู่ท่ามกลางแสงแดด
เสือดำพบทางภาคใต้ของประเทศไทย และมีมากในประเทศมาเลเซีย ส่วนในพื้นที่อื่นพบเสือดาวได้ง่ายกว่า พื้นบ้านบางแห่งเรียกว่า "เสือลายตลับ" หรือ "เสือแผ้ว" ภาษาลาว เรียกว่า "เสือลายจ้ำหลอด"

ขนาด
หัวถึงลำตัว ยาวประมาณ 107 - 129 เซนติเมตร หาง 80 - 100 เซนติเมตร ขนาดใบหู 6.4 - 7.5 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 45 - 65 กิโลกรัม

การกระจายประชากร
พบในแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก เรื่อยมาถึงทางภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะชวา ไม่เคยพบที่เกาะบาหลี เกาะสุมาตรามีน้อยมาก

ปริมาณของเสือดาวเมื่อเทียบกับเสือโคร่งแล้วจะมีมากกว่าถึง 3-5 เท่า ในพื้นที่ ๆ มีเสือโคร่ง 1 ตัวอาจพบเสือดาวได้มากถึง 3-5 ตัว

พันธุ์ย่อย
เสือดาว สามารถแบ่งเป็นชนิดย่อย ได้มากมายถึง 30 ชนิด อาทิเช่น P. p. delacouri, P. p. fusca, P. p. pardus, P. p. orientalis เป็นต้น โดยที่เสือดาวแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกันที่ลวดลายและขนาดของลำตัว และถิ่นที่อยู่อาศัยเนื่องจากเสือดาวมีถิ่นที่อยู่กระจายกว้าง รวมทั้งมีพฤติกรรมบางอย่างที่แตกต่างออกไปด้วย เช่น เสือดาวที่พบในทวีปเอเชียไม่ค่อยมีพฤติกรรมซ่อนเหยื่อบนต้นไม้เหมือนเสือดาวที่พบในทวีปแอฟริกา เป็นต้น

นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
เสือดาวอาศัยได้ในสภาพแวดล้อมหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นป่าหรือพื้นที่โล่ง ซึ่งมีหินและพุ่มไม้แห้ง ๆ แต่มันชอบสภาพป่ามากกว่า เสือดาวทนแล้งทนร้อนและอาศัยในพื้นที่ห่างไกลแหล่งน้ำได้ดีกว่าเสือโคร่ง ถ้าจำเป็นจริง ๆ เสือดาวก็ว่ายน้ำได้ แต่โดยปกติมันจะพยายามหลีกเลี่ยง เสือดาวชอบใช้ชีวิตบนต้นไม้และเคลื่อนที่ว่องไวไปตามกิ่งไม้ เสือดาวกินเหยื่อทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง และหมา มันจะดักคอยเหยื่ออยู่บนต้นไม้และหลังจากฆ่าเหยื่อแล้ว จะลากเหยื่อกลับขึ้นไปกินบนต้นไม้ เพื่อป้องกันสัตว์กินซากมาแย่งอาหาร เสือดาวเริ่มกินเหยื่อที่บริเวณท้องก่อน ในขณะที่เสือโคร่งเริ่มกินที่สะโพกก่อน

เสือดาวมีวิธีอันชาญฉลาดในการจับค่างและลิงกิน โดยเสือดาวจะวิ่งเหยาะๆไปมาอยู่ใต้ต้นไม้ พวกลิงค่างบนต้นไม้ก็จะเริ่มตื่นกลัวและเตรียมตัวหนี โดยพากันกระโดดจากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง จากนั้น เสือดาวจะแสร้งทำท่าปีนต้นไม้ ลิงที่มีประสบการณ์น้อยจะหลงกลกระโดดลงพื้นเพื่อหาทางหลบหนีไปตามพุ่มไม้ แต่นั่นคือจุดจบของมัน เพราะเสือดาวจะหันมาไล่จับมันอย่างง่ายดาย

อาหารของเสือดาวนอกจากสัตว์กินพืชจำพวกเก้ง กวาง แล้วมันยังล่าเหยื่ออื่นๆอีกเช่น กระต่าย นกยุง ชะมด หรือแม้แต่สัตว์เล็ก ๆ มันก็กิน เช่น งู กิ้งก่า เป็นต้น เรียกได้ว่า เสือดาวกินสัตว์ทุกชนิดที่ล่าได้

การล่าของเสือดาวจะคล้ายกับเสือโคร่ง คือ การไล่ล่าโดยตรง การซุ่มดักเหลื่อ แต่จะแตกต่างไปบ้างก็ตรงที่มันอาจจะขึ้นไปพรางตัวสงบนิ่งอยู่บนต้นไม้ เพื่อรอคอยตะครุบเหลื่อที่ผ่านเข้ามาใกล้ เมื่อล่าเหยื่อได้มันจะกินบริเวณท้องและซี่โคร่งก่อน ต่างจากเสือโคร่งที่จะเริ่มกินเหยื่อบริเวณสะโพกก่อน

นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล ได้เขียนในบทนำของนิยายเรื่อง “เดชเสือดาว” ว่าเสือดาวมีความฉลาดและนิสัยระแวดระวังภัยมากกว่าเสือโคร่ง เวลาที่มันจะเข้าไปกินซากที่มันกินเหลือไว้จากคืนก่อน มันมักจะแอบดูเหตุการณ์อยู่นาน จนแน่ใจว่าไม่มีใครแอบซุ่มนั่งห้างคอยดักยิงมันอยู่ มันจึงจะค่อย ๆแอบเข้าไปกินซาก ไม่เหมือนกับเสือโคร่งที่มักเดินเข้าไปอย่างสง่าฝ่าเผย ศัตรูของเสือดาวก็คือเสือโคร่งนั่นเองที่มักมาแย่งอาหารของมันบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีพวกหมาจิ้งจอกและหมาในที่มักเข้ามาแย่งซากสัตว์ของมันเช่นกัน

เสือดาวจะมีพื้นที่ในการหากินประมาณ 27 – 37 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่จะออกหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อน ปัจจุบันสถานภาพของเสือดาวในประเทศไทยมีจำนวนลดลง เหลืออยู่ตามป่าอนุรักษ์ต่าง ๆ เช่น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาสก ประมาณ 500 ตัวเท่านั้น

เสือดาวชอบอยู่สันโดษ จะจับคู่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ตั้งครรภ์ประมาณ 90-100 วัน ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว และมีอายุในสภาพกักขังประมาณ 20 ปี

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553


สือชีตาห์ (Cheetah) เป็นแมวชนิดหนึ่ง เนื่องจากมันสามารถครางได้ แต่เพราะรูปร่างภายนอก ทำให้คนส่วนใหญ่เรียกว่า เสือชีตาร์ เสือชีตาร์มีที่อยู่อาศัยในทุ่งหญ้าสะวันนา เป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วมากวิ่งได้เร็วประมาณ 110-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นสัตว์บกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก[2] เป็นผลมาจากความสามารถในการโค้งงอของกระดูกสันหลังในการเคลื่อนที่และเมื่อพุ่งตัวกระดูกสันหลังจะเหยียดออก ปัจจุบันเสือชีตาห์ลดจำนวนลงในทวีปเอเชียเหลืออยู่แค่ในอิหร่านไม่เกิน 20 ตัว ส่วนในอาฟริกาประมาณการว่าเหลืออยู่ราว 4,000 ตัวเท่านั้น
ลักษณะทั่วไป
เป็นเสือรูปร่างเพรียว ขนาดเล็กกว่าเสือดาวเล็กน้อย ขาขาว ขนหยาบ สีเขียวอ่อนอ่อน จนถึงสีเขียวอมแดง ตามลำตัวมีลายจุดเป็นสีดำ ปลายหางหนึ่งในสามมีวงแหวนสีดำ ปลายสุดสีขาว มีเส้นสีดำจากใต้หัวตามาที่มุมปากทั้งสองข้าง หูเล็กกลม ขนท้ายทอยยาวและตั้งขึ้นเป็นแผง คอสั้น พันธุ์ที่มาจากโรเซียมีดวงตามตัวติดกันเป็นแถบสีดำยาวเรียก King cheetah คาดว่าเป็นการผ่าเหล่าของพันธุ์แท้ เสือชีต้าหดซ่อนเล็บไว้ในอุ้งเล็บไม่ได้ นอกจากตอนอายุน้อยไม่เกิน 15 สัปดาห์ เนื่องจากช่วงนี้ หนังหุ้มเจริญตัวดีมาก หลังจากนั้น หนังหุ้มจะหดหายไป เป็นเสือวิ่งเร็วที่สุดในช่วงสั้น อุ้งเท้าเล็บแคบกว่าเสือชนิดอื่น
ถิ่นกำเนิด
เสือชีตาห์พบในทวีปแอฟริกาตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา บริเวณทุ่งหญ้าในตะวันออก และตอนใต้ของอาฟริกา นอกจากนี้ยังพบในอินเดีย บางส่วนของอิหร่านและอัฟกานิสถาน
ถิ่นอาศัยและการล่าเหยื่อ
อาศัยอยู่ตามลำพัง ตัวผู้ที่เป็นพี่น้องกันจะรวมกลุ่มกันอยู่ และมีอาณาเขตร่วมกัน ชีต้าเป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลก สามารถทำความเร็วได้ถึง 80 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่มันจะวิ่งได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น อาหารของมัน ได้แก่ กวางขนาดเล็ก ชีต้าสามารถฝึกให้เชื่องได้ง่าย ในสมัยก่อนมักถูกนำมาฝึกให้ล่าสัตว์ ชอบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าแห้งแล้ง ปีนต้นไม้ไม่เก่ง แต่กระโดดได้สูงถึง 4.5 เมตร ใช้การถ่ายปัสสาวะเป็นเครื่องกำหนดอาณาเขตของมัน ชอบล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยซ่อนตัวบนที่สูงกว่าเหยื่อ เมื่อพบเหยื่อจะหมอบคลานเข้าไปหาและจะอยู่ใต้ลม พอเข้าใกล้เหยื่อ จะใช้เท้าหน้าตะบบให้เหยื่อล้มลงแล้วกัดที่คอ ชอบกินเลือดสด ๆ และเครื่องใน มีตับ ไต หัวใจ และจมูก ลิ้น ตา เนื้อที่หัวซี่โครงและขา นอกนั้นไม่ค่อยกิน มันไม่ลากซากไปกินและไม่หวล กลับมากินซากเดิมอีก ซากเน่าปกติไม่กิน นอกจากหิวจัดจริง ๆ

ปกติเหยื่อขนาดปานกลาง เช่น แอนติโลป พวกกาเซลล์อิมพาล่า วิเตอร์บัค แต่เหยื่อขนาดใหญ่ เช่น ม้าลาย คูได ก็ล่าได้ นอกจากนี้ก็ล่า พวกกระต่ายป่า สัตว์แทะ นก รวมทั้งแพะ แกะด้วย กินทั้งหนังและขนของเหยื่อ อาหารแร่ธาตุและไวตามินส์เป็นสิ่งสำคัญของเสือชนิดนี้
การสืบสายพันธุ์
ท้องนาน 90 – 95 วัน ตกลูกครั้งละ 1 – 8 ตัว ลูกลืมตาได้เมื่ออายุ 8 – 11 วัน ตามองเห็นเมื่ออายุ 20 วัน กินอาหารแข็งได้เมื่ออายุ 3 สัปดาห์ไปแล้ว และหย่านมเมื่อ อายุ 10 สัปดาห์ไปแล้ว ลูกตายมากในช่วง 8 เดือนแรก ตัวเมียเป็นสาวผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 2 ปี ศัตรูของลูกชีต้า คือ สิงโต เสือดาว สุนัขไฮอีน่า และหมาป่า

การเลี้ยงเสือชีต้ามีผู้แนะนำให้แยกตัวผู้และตัวเมียไว้ต่างหาก ให้นำมารวมกันเฉพาะระยะผสมพันธุ์เท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์กันแล้วมันคงอยู่ด้วยกันอีกนานไม่แยกจากกันทันทีเหมือนสัตว์อื่นบางชนิด เคยพบพ่อช่วยเลี้ยงลูกอ่อนด้วย แต่ก็มีรายงานพ่อและแม่กินลูก เหมือนกัน โดยเฉพาะแม่สาวมักไม่ค่อยรับลูกและไม่ยอมให้ลูกกินนม การพยายามแยกลูก มาเลี้ยงเอง ยังไม่มีใครทำสำเร็จ

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553




ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris

ขนาด หัวถึงลำตัว 168 - 227 เซนติเมตร
หาง 94 - 118 เซนติเมตร
น้ำหนัก 180 - 245 กิโลกรัม

รูปร่างลักษณะ
เสือโคร่งเป็นเสือขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเสือ ลำตัวมีสีเทาแกมเหลืองหรือน้ำตาลอมเหลือง แต่ละตัวจะมีลายแถบปรากฎบนหลังและด้านข้างของลำตัวต่างกัน ขนใต้ท้อง คาง และคอ เป็นสีขาว ขนเหนือตาสีขาวและมีแถบสีดำ หางมีแถบดำเป็นบั้งๆ ตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง ไม่เคยมีรายงานเสือโคร่งดำ แต่มีรายงานเสือโคร่งเผือก เสือโคร่งตัวผู้ขนาดใหญ่อาจมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 300 กิโลกรัม

ถิ่นที่อยู่
มีการกระจายจากแถบไซบีเรียถึงทะเลสาบแคสเปียน อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะสุมาตรา หมู่เกาะชวา และแถบบาหลี แต่ไม่เคยมีรายงานการพบเสือโคร่งบนเกาะบอร์เนียว

พฤติกรรม
เสือโคร่งชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำหรือที่มีร่มเงาให้หลบแสงแดด เพราะมันไม่ชอบอากาศร้อน เสือโคร่งจึงมักอาศัยในป่าทึบอากาศเย็นและใช้พักผ่อนได้ในเวลากลางวัน เสือโคร่งชอบอาบน้ำและว่ายน้ำ ในวันที่มีอากาศร้อน เสือโคร่งใช้เวลาหลายชั่วโมงในแอ่งน้ำ เสือโคร่งไม่ชอบปีนต้นไม้ แต่ก็ปีนได้ ถ้าจำเป็น
เสือโคร่งออกล่าเหยื่อตอนเย็นและล่าทุกอย่างที่กินได้ ตั้งแต่ปลา เต่า เม่น หรือแม้แต่เสือโคร่งด้วยกันเอง ในประเทศไทย เสือโคร่งชอบล่าหมูป่าและกวางเป็นอาหาร เสือโคร่งจะไล่เหยื่อประมาณ 10-20 เมตรแล้วจึงเข้าตะครุบเหยื่อจากทางด้านหลังหรือด้านข้าง เสือโคร่งเริ่มกินเหยื่อตรงสะโพกก่อน ตามปกติมันต้องการอาหารวันละประมาณ 6-7 กิโลกรัม
เสือโคร่งที่อายุมาก เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ถ้าเกิดได้ลองกินคนแล้วอาจติดใจ เพราะสามารถล่าและฆ่าได้ง่าย แต่ตามธรรมชาติ เสือโคร่งไม่ชอบเข้าใกล้คน
เสือโคร่งชอบอยู่สันโดษ ไม่ค่อยพบว่าอยู่เป็นคู่ ถ้าพบเป็นกลุ่มก็จะเป็นแม่เสือโคร่งและลูกๆ ในฤดูผสมพันธุ์ เสือโคร่งตัวเมียจะส่งเสียงร้องดังและบ่อย เสือโคร่งใช้เวลาตั้งครรภ์ประมาณ 100-105 วัน ออกลูกครั้งละ 1- 5 ตัว แม่เสือโคร่งเลี้ยงลูกประมาณ 2 ปี โดยลูกตัวเมียจะอยู่นานกว่าลูกตัวผู้
8 สายพันธุ์เสือโคร่งที่มีอยู่ทั่วโลก
โดยทั่วไปเสือโคร่งในทุกพื้นที่ มีลักษณะรูปร่างและสีขนคล้ายคลึงกัน แต่ในรายละเอียดปลีกย่อยแล้วมีความแตกต่างกันบางประการ จนสามารถแยกกลุ่มประชากรของเสือโคร่งในถิ่นต่างๆ เป็นชนิดย่อย (Subspecies)
ได้ 8 ชนิด คือ

Bali tiger (Panthera tigris balica) สายพันธุ์บาหลี

Javan tiger (Panthera tigris sondaica) สายพันธุ์ชวา

Caspian tiger (Panthera tigris virgata) สายพันธุ์แคสเปียน

Indo-chinese tiger (Panthera tigris corbetti) สายพันธุ์อินโด-ไชนีส

Royal Bengal tiger (Panthera tigris tigris) สายพันธุ์เบงกอล

Siberian tiger (Panthera tigria altaica) สายพันธุ์ไซบีเรียน

South China tiger (Panthera tegris amoyensis) สายพันธุ์เซ้าท์ไชน่า

Sumatran tiger (Panthera tigris sumatrae) สายพันธุ์สุมาตรา

ความแตกต่าง เสือโคร่งทั้ง 8 ชนิดแตกต่างกันที่ขนาด สี และลักษณะลายเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ Sumatran tiger ขนาดเล็กที่สุดคือ Bali tiger เสือโคร่งซึ่งอยู่ค่อนไปทางตอนเหนือของโลกมีสีอ่อนกว่าชนิดซึ่งอยู่ค่อนมาทางตอนใต้ เช่น Siberian tiger มีสีอ่อนที่สุด Bali tiger มีสีเข้มที่สุด เป็นต้น
เสือโคร่งแต่ละชนิดมีจำนวนเส้นลายแตกต่างกัน เช่น South China tiger และ Indo-chinese tiger มีจำนวนเส้นลายมากขึ้นตามลำดับ Bali tiger Javan tiger และ Sumatran tiger เสือโคร่งทั้ง 3 ชนิดนี้พบอาศัยอยู่บนเกาะและมีลักษณะปลีกย่อยอื่นๆ เช่น ความยาวขน ลักษณะลายที่ปรากฏบนร่างกาย สัดส่วนกะโหลก ฯลฯ ต่างจากเสือโคร่งชนิดอื่นด้วย
ปัจจุบัน Bali tiger Caspian tiger และ Javan tiger ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว สำหรับชนิดของเสือโคร่งในเมืองไทยคือ Indo-chinese tiger

3 สายพันธุ์เสือโคร่งที่สูญพันธุ์แล้ว

Caspian tiger เคยมีถิ่นที่อยู่บริเวณ อาฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี มองโกเลีย
และตอนกลางเขตเอเชียของรัสเซีย
สายพันธุ์แคสเปียนนี้ คาดว่า สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2493

Javan tiger เคยมีถิ่นที่อยู่ในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สายพันธุ์ชวานี้
เคยมีคนเห็นครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. 2515

Bali tiger เคยมีถิ่นที่อยู่ในเกาะบาหลี อินโดนีเซีย ปัจจุบันนี้ก็สูญพันธุ์ไปแล้ว

เสือโคร่งที่ยังเหลืออยู่

Bengal Tiger สายพันธุ์เบงกอล

Indochinese Tiger สายพันธุ์อินโดไชนีส

South China Tiger สายพันธุ์เซ้าท์ไชน่า

Siberian Tiger สายพันธุ์ไซบีเรียน

Sumatran Tiger สายพันธุ์สุมาตรา

1.สายพันธุ์เบงกอล Bengal Tiger

แทบจะทั้งหมดของเสือโคร่งสายพันธุ์นี้ มีถิ่นอาศัยในอินเดีย มีบางส่วนอาศัยในเนปาล บลังคลาเทศ ภูฏาณ และตะวันตกของพม่า
เพศผู้ มีความยาว หัวถึงหาง ประมาณ 2.9 เมตร(9.5 ฟุต) หนักประมาณ 220 กก.
เพศเมีย ยาว 2.5 เมตร (8 ฟุต) หนักประมาณ 140 กก.

2.สายพันธุ์อินโดไชนีส Indo-chinese Tiger

มีถิ่นฐานอยู่ ในป่าเมืองไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียตนาม และทางตอนใต้ของจีน
สายพันธุ์นี้ มีลักษณะคล้ายกับสายพันธุ์เบงกอลมาก แต่จะเล็ก สั้น และสีเข้มกว่า
ริ้วดำบนตัว ก็จะแคบกว่าสายพันธุ์เบงกอล
เพศผู้ มีความยาว หัวถึงหางประมาณ 2.7 เมตร(9 ฟุต) หนักประมาณ 180 กก.
เพศเมีย ยาวประมาณ 2.4 เมตร (8 ฟุต) หนักประมาณ 115 กก.(250ปอนด์)

3. สายพันธุ์เซ้าท์ไชน่า South China
มีถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางและตะวันออกของจีน
ปัจจุบันสายพันธุ์นี้อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์มากที่สุด ในบรรดา 5 สายพันธุ์ที่เหลือ
ไม่มีให้เห็นในสภาพป่าธรรมชาติแล้ว ส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ จะอยู่ในสวนสัตว์ในจีน
เพศผู้ มีความยาวหัวถึงหางประมาณ 2.5 เมตร(8ฟุต) หนักประมาณ 150 กก.
เพศเมีย ยาวประมาณ 2.3 เมตร(7.5 ฟุต) หนักประมาณ 110 กก.

4.สายพันธุ์ไซบีเรียน Siberian Tiger

มีถิ่นฐานอยู่ทางตะวันออกของรัสเซียแทบทั้งหมด มีส่วนน้อยมากที่พบทางเหนือ
ของจีนและทางเหนือของเกาหลีเหนือ
เสือโคร่งสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่สีและริ้วจะซีดกว่าสายพันธุ์อื่น
ริ้วพาดตัวจะออกสีน้ำตาลมากว่าสีดำและริ้วห่างหรือกว้างกว่าสายพันธุ์อื่น
ขนตรงอกจะขาว มีขนยาวและหนา โดยเฉพาะรอบคอ
เพศผู้ มีความยาวหัวถึงหางประมาณ 3.3 เมตร(10.9ฟุต) หนักประมาณ 300 กก.
เพศเมีย ยาวประมาณ 2.6 เมตร หนักประมาณ 167 กก.

5.สายพันธุ์สุมาตรา Sumatran Tiger

พบอยู่เฉพาะเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น
เป็นสายพันธุ์เสือโคร่งที่เล็กที่สุด และมีสีเข้มมากที่สุด ริ้วสีดำกว้างและชิดกัน
บางทีริ้วเป็นคู่ ต่างจากสายพันธุ์ไซบีเรียนมาก
เพศผู้ มีความยาวหัวถึงหางประมาณ 2.4 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 120 กก.
เพศมี ยาวประมาณ 2.2 เมตร หนักประมาณ 90 กก

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

มารู้จักคนเกิดปีเสือกันเถอะ


ปีขาล
TIGER
เสือจอมพลัง
ลักษณะเฉพาะ
เป็นผู้นำ ชอบเสี่ยง ทำก่อนคิด เป็นคนโชคดีมากและมักเอาตัวรอดได้เสมอ

จุดเด่น
กล้าทำตามความเชื่อของตนเองเป็นที่ชื่นชมของผู้อื่น

จุดอ่อน
เนื่องจากใช้หัวใจนำทาง จึงกลายเป็นคนอารมณ์ร้อน

คู่รักที่เหมาะสม
ปีมะเมีย ปีมะโรง หรือปีจอ

คนเกิดปีขาลนั้นเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำอย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังมีจิตใจสูงส่ง และกล้าหาญจนได้รับความเคารพแม้กระทั่งจากศัตรูของตนเอง

คนเกิดปีขาลคือนักสู้ผู้กล้าหาญที่สามารถต่อสู้ได้จนหยดสุดท้ายเพื่อสิ่งที่ถูกต้องแม้บางทีจะดูเห็นแก่ตัวไปบ้างในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่จริงๆแล้วชาวปีขาลนั้นใจกว้างไม่เบา คนเกิดปีเสือนั้นมักทำให้ผู้อื่นแปลกใจเสมอ รวมทั้งตื่นตัวและเร่งรีบอยู่ตลอดเวลาด้วย บุคลิกอันน่าเกรงขามแต่ดึงดูดใจในเวลาเดียวกัน ทำให้ใครๆ ก็หลงใหลคนเกิดปีขาล

บางทีชาวเสือก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งในตัวเอง ไม่ว่าจะโกรธง่ายแต่สงบนิ่งใจดีแต่ขี้กลัว กล้าหาญยามคับขันแต่นุ่มนวล คนเกิดปีขาลนั้นมั่นใจในตัวเอง และบางครั้งก็มั่นใจเกินไป ถึงแม้คนเกิดปีเสือจะรักการผจญภัย และความตื่นเต้น แต่ทางที่ดีคุณไม่ควรไปท้าทายคนเกิดปีขาลหรอกนะ เพราะคนเกิดปีนี้ยังไงก็ชอบเป็นผู้ควบคุม และเผลอๆอาจต้องการจัดการกับคุณให้เลิกจุ้นก็เป็นได้

เนื่องจากเป็นคนที่รีบทำอะไรให้เสร็จเร็วๆ เสมอ คนเกิดปีขาลจึงชอบทำงานคนเดียว ชาวเสือเป็นพวกชอบทำงาน ขยัน และคล่องแคล่ว ถ้าคุณมอบหมายงานให้คนปีเสือทำล่ะก็มั่นใจได้เลยว่าจะได้รับผลงานยอดเยี่ยมมีประสิทธิภาพ คนเกิดปีเสือมักหาเงินได้มากแม้ว่าจริงๆแล้วจะไม่ได้สนใจเรื่องเงินมากนักก็ตาม ชาวขาลเป็นคนความรู้สึกไว และใจน้อยความรู้สึกรุนแรงที่มี อาจทำให้คนปีเสือพลาดท่าได้ในเรื่องความรัก นอกจากนั้นยังเป็นคนขี้หึง ขี้หวงเอามากๆ ถ้าคุณมีเพื่อนเกิดปีขาล เขาอาจขอให้คุณเข้าข้างเขาจนวินาทีสุดท้าย และด้วยความน่ารักเฉพาะตัวของเขา คุณจึงไม่สามารถปฏิเสธได้เลยสักครั้ง

คนเกิดปีขาลเป็นคนรักที่โรแมนติก ลึกซึ้ง แต่อย่างไรก็ตามคนปีนี้มักมีปัญหาไม่สามารถเดินทางสายกลางได้ (เพราะมักจะมากเกินไปตลอด) คู่ที่เหมาะที่สุดกับคนปีขาลคือคนเกิดปีจอ มะเมีย หรือวอก รองลงมาคือปีกุน หรือมะโรง ที่พอเข้ากันได้บ้างคือ ปีมะโรงหรือชวด ส่วนปีต้องห้ามคือ ปีระกา ขาล เถาะ ฉลู หรือมะแม

บ้านเปี่ยมทรัพย์
เพื่อความเจริญรุ่งเรือง เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านของคนปีขาล ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เตียง ควรมีขนาดใหญ่กว่าปกติ หน้าบ้านควรมีต้นไม้ใหญ่ หรือสัญลักษณ์ที่ใหญ่โตโดดเด่น อาทิ มีประตูหน้าบ้านบานใหญ่ มีโอ่งน้ำขนาดใหญ่ มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ เป็นต้น ในห้องรับแขกควรมีรูปภาพพระอาทิตย์ขึ้นประดับไว้ จะช่วยเพิ่มพลัง อำนาจ และบารมีให้มีมากขึ้นกว่าเดิม

ความรัก
แม้เป็นเสือที่มีเขี้ยวเล็บแพรวพราว แต่ชาวปีขาลกลับมีความอ่อนไหวในเรื่องความรัก จึงไม่น่าแปลกที่แวดวงคนเกิดปีนี้จะอบอวลไปด้วยความรักอย่างมากมาย แต่กว่าจะหารักแท้หรือที่จะเป็นคู่ชีวิตก็ยากเต็มที เพราะความเป็นเสือซึ่งก็บอกยี่ห้ออยู่แล้วว่า ทั้งเขาและเธอ รับรองคุณภาพของความเจ้าชู้ได้ทุกคน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความร้อนแรงของวันเกิดและเดือดเกิดอีกที คนเกิดปีขาลเป็นคนที่เริ่มต้นใหม่กับความรักได้เสมอ เข้าทำนองอกหักดีกว่ารักไม่เป็น ลูกเล่นในเรื่องความรักความใคร่แพรวพราว คารมคมคายน่าหลงใหล คนเกิดปีนี้จึงทำให้คนรักได้ไม่ยากเย็น หนุ่มสาวปีขาลไม่ชอบหลอกตัวเอง เป็นคนใจแข็งปานเหล็ก เรียกว่าต่อให้รักขนาดไหน ถ้ามีสิ่งที่ไม่พอใจมากระทบความรู้สึก ประเภทที่รับไม่ได้ก็ตัดใจได้ทันทีเหมือนกัน ลักษณะเฉพาะตัวที่เด่นๆ ของเขาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความเป็นคนช่างสังเกต แม้ต่อหน้าเหมือนไม่ใส่ใจอะไรเลย แต่ถ้าเป็นคนที่ถูกใจใครจับจะตาคนๆ นั้น ประเภทไม่ให้พลาดเลยทีเดียว คนปีเสือมักจะมีเรื่องประหลาดเกี่ยวกับความรักเกิดขึ้นกับเขาอยู่เสมอ ถ้าเขาหลงรักใครก็จะหัวปักหัวปำประเภทเอาช้างมาฉุดก็ไม่อยู่แต่สำหรับความผิดหวังแล้วเป็นคนละเรื่อง เมื่ออกหักก็จะจากไป ไม่ให้ความทุกข์ตามไปด้วยเป็นอันขาด