วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เรือแคนู

เรือแคนูมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายพันปี โดยชาวอินเดียนแดง ซึ่งเรือแคนูถูกสร้างขึ้นเพื่อการเดินทาง การค้าขาย การสงคราม และเพื่อการล่าสัตว์ รูปลักษณ์มีความต่างกันตามสภาพแวดล้อมถิ่นที่อยู่อาศัย เช่นเรือแคนูของชาวเมารีในประเทศนิวซีแลนด์มีความยาว 35 เมตร ใช้ฝีพายถึง 80 คน ชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาเหนือสร้างเรือแคนูจากหนังกวาง และเปลือกไม้เอิร์ซ (Birch bark) ส่วนชาวอียิปต์ทำมาจากเปลือกไม้พาพัยรัส (Papyrus reeds) ส่วนชาวโพลีนีเซียนใช้ท่อนซุงทำเรือแคนู ชาวเอสกิโมในประเทศกรีนแลนด์ได้สร้างเรือขึ้นมาชนิดหนึ่งโดยเรียกว่า คยัค มีลักษณะคล้ายเรือแคนูแต่มีฝาปิดเรือคยัคนี้ถูกค้นพบโดยนักสำรวจชาวอังกฤษที่ชื่อ Burrough ในปี ค.ศ.1556
ในเวลาต่อมาเรือแคนูเริ่มเป็นที่นิยมกันมากสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการผจญภัยกลางน้ำอันเชี่ยวกราดจึงได้มีการจัดตั้งเป็นสหพันธ์เรือแคนูนานาชาติ (International Canoe Federtion –I.C.F) ขึ้นในปี ค.ศ.1700 ได้มีการผลักดันกีฬาเรือแคนูให้เป็นกีฬาสาธิตในโอลิมปิกเกมส์เมื่อปี ค.ศ.1928 และอีก 12 ปีต่อมากีฬาเรือแคนูก็ได้บรรจุลงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอย่างถาวร ในการกีฬาจะใช้คำว่าเรือแคนูซึ่งหมายถึงทั้งเรือแคนูและคยัครวมกัน เอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าในการจัดการแข่งขัน กีฬาเรือแคนูก็เป็น 1 ประเภทของกีฬาที่จัดให้มีการแข่งขันนั้นด้วย

กฎการแข่งขัน (RACING REGULATIONS)
การให้ออกจากการแข่งขัน (Disqualifications)
- ผู้แข่งขันใดที่พยายามเอาชนะในการแข่งขันทุกวิธีอย่างไร้เกียรติ หรือฝ่าฝืนกฎการแข่งขัน หรือไม่คำนึงถึงธรรมชาติศักดิ์ศรีของกฎการแข่งขัน จะถูกให้ออกจากการแข่งขันในเที่ยวการแข่งขันที่เกี่ยวข้องนั้น
- ผู้แข่งขันเรือคยัคหรือเรือแคนูที่ได้แข่งขันจบเที่ยวไปแล้ว ซึ่งได้ปรากฎภายหลับจากการตรวจสอบว่าไม่เป็นไปตามการแบ่งประเภทของ ICF จะถูกให้ออกจากการแข่งขันในเที่ยวการแข่งขันนั้น
- ระหว่างการแข่งขัน ห้ามรับการช่วยเหลือจากภายนอก หรือมีเรือลำอื่นแล่นติดตามข้างสนามแข่งขันไปด้วย ถึงแม้จะอยู่ข้างนอกลู่แข่งขัน หรือขว้างสิ่งของเข้ามาในสนามแข่งขัน การกระทำทั้งหมดเช่นนั้น จะเป็นสาเหตุให้ผู้แข่งขันที่เกี่ยวข้องถูกให้ออกจากการแข่งขันได้การให้ออกจากการแข่งขันทั้งหมดโดยคณะกรรมการตัดสิน จะต้องกระทำเป็นหนังสือยืนยันทันทีพร้อมกับเหตุผล หัวหน้าทีมจะได้รับทราบจากสำเนาตามกำหนดเวลาซึ่งจะเป็นเวลาที่จะเริ่มยื่นการประท้วง
วิธีการขับเคลื่อนเรือ (Means of Propulsion)
- เรือคยัคจะขับเคลื่อนได้ด้วยการใช้พายชนิดสองใบ (Double-bladed paddles) อย่างเดียว
- เรือแคนูแบบแคนาเดียนจะขับเคลื่อนได้ด้วยการใช้พายชนิดใบเดียว (Single-bladed paddles) อย่างเดียว
- ห้ามยึดตรึงพายติดกับตัวเรือด้วยวิธีใด ๆ
- ถ้าเกิดหัก ผู้แข่งขันจะรับพายใหม่จากผู้สนับสนุนไม่ได้
ระบบการจัดแข่งขันรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ (Heats and Finals)
- จะต้องมีจำนวนเรือคยัคหรือเรือแคนูอย่างน้อยสามลำ จึงจะจัดการแข่งขันได้ ถ้ามีจำนวนเรือเข้าแข่งขันตั้งแต่ระยะ 1,000 ม. ลงมามาเกินไป จะต้องจัดให้มีรอบคัดเลือก (Heats) จำนวนเรือคยัคหรือเรือแคนูในแต่ละรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศจะต้องไม่เกิน เก้า(9) ลำ
- การจัดแบ่ง (Division) เรือในแต่ละรอบคัดเลือก จะต้องกระทำด้วยการจับฉลาก
- เรือคยัคหรือเรือแคนูที่มีจำนวน แปด หรือเก้า ลำ ให้จัดแข่งขันเป็นรอบชิงชนะเลิศได้เลย ถ้าหากมีจำนวนเรือมากกว่านี้ ให้จัดแบ่งเรือเข้าแข่งขัน ดังนี้
3 ถึง 9 ลำ จัดเป็นรอบชิงชนะเลิศ
10 ถึง 14 ลำ จัดแข่งขันสองรอบแรก (Heats) ที่ 1-3 ของแต่ละรอบแรกไปรอแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่เหลือไปแข่งขันรอบรองชนะเลิศ (Semi-final) หนึ่งรอบ ที่ 1-3 ของรอบรองชนะเลิศไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
15 ถึง 27 ลำ จัดแข่งขันสามรอบแรกที่ 1-2 ของแต่ละรอบแรก ไปรอแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ที่ 3-5 ของแต่ละรอบแรกไปแข่งขันรอบรองชนะเลิศหนึ่งรอบ ที่เหลือคัดออก ที่ 1-3 ของรอบรอบชนะเลิศไปแข่งขันรอบชนะเลิศ
มากกว่า 27 ลำ จัดแข่งขันจำนวนรอบแรกเท่าที่ต้องการตามจำนวนเรือเข้าแข่งขัน และจัดรอบรองชนะเลิศสามรอบที่ 1-3 ของแต่ละรอบรองชนะเลิศ ไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
- การจัดแบ่งจำนวนเรือในแต่ละรอบแรก จะต้องจัดให้มีจำนวนเรือไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ (หรือในรอบรองชนะเลิศ) อย่างน้อยสามลำจากแต่ละรอบแรก
- การจับฉลากแบ่งเรือ ความแตกต่างกันในแต่ละรอบแรก จะต้องไม่เกินหนึ่งลำ ถ้าหากจำนวนเรือมีความแตกต่างกันในแต่ละรอบแรก จะต้องจัดจำนวนเรือในรอบแรกลำดับต้น ๆ ให้มีจำนวนมากกว่า
- ลูกเรือลำใดไม่ได้ร่วมแข่งขันในรอบคัดเลือกที่ได้กล่าวมาแล้ว จะไม่ได้รับอนุญาตให้แข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ
องค์ประกอบของลูกเรือที่ได้รับคัดเลือกเข้าแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ หรือรอบชิงชนะเลิศ จะเปลี่ยนตัวไม่ได้ การแข่งขันในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ จะต้องใช้สนามแข่งขันเดียวกัน การเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ จะไม่ขึ้นอยู่กับเวลาที่ทำได้ในรอบคัดเลือก
- สำหรับการแข่งขันระยะเกินกว่า 1,000 ม. จะไม่จัดให้มีรอบคัดเลือก และทำการปล่อยเรือที่เข้าแข่งขันทั้งหมดพร้อมกัน
- ถ้าความกว้างของสนามแข่งขันไม่อำนวยให้ทำการปล่อยเรือพร้อมกัน ให้ทำการปล่อยเรืออย่างปรกติแบบเว้นช่วงเวลา
การปล่อยเรือ (Start)
- จะต้องมีการจับฉลากในการกำหนดตำแหน่งของเรือที่เส้นปล่อยเรือในรอบคัดเลือก จับได้หมายเลยหนึ่ง จะถูกวางไว้ทางซ้าย หมายเลขสองจะอยู่ถัดมาและต่อ ๆ ไป
- ในการแข่งขันที่มีรอบแรกหลายรอบ จะต้องมีการจับฉลากแยกแต่ละรอบแรก
- ผู้แข่งขันจะต้องอยู่ในพื้นที่ปล่อยเรือในเวลาที่เพียงพอต่อการเตรียมตัวให้พร้อมในการปล่อยเรือ การปล่อยเรือจะต้องเป็นไปตามเวลาที่กำหนด โดยจะไม่มีการรอเรือที่ยังไม่เข้าเส้นปล่อยเรือ ตำแหน่งของเรือที่เส้นปล่อยเรือ จะต้องอยู่ในลักษณะที่หัวเรือแข่งขันสัมผัสเส้นปล่อยเรือ
- เรือทุกลำจะต้องอยู่นิ่งไม่เคลื่อนที่
- กรรมการปล่อยเรือ จะประกาศให้ผู้แข่งขันที่เส้นปล่อยเรือได้เตรียมตัวว่า “เตรียมพร้อม หรือ ATTENTION PLEASE” และเมื่อเห็นทุกอย่างเรียบร้อย จะให้สัญญาณปล่อยเรือด้วยการยิงปืน
ในกรณีแข่งขันในระยะไกล กรรมการปล่อยเรือจะประกาศ “ONE TO GO BEFORE START” แล้วให้สัญญาณด้วยการยิงปืน
ใช้คำพูดว่า “ไป หรือ GO” แทนสัญญาณยิงปืนก็ได้
ถ้ากรรมการปล่อยเรือเห็นว่าเรือที่ออกตามสัญญาณปล่อยเรือ ไม่ได้อยู่ในแนวเส้นปล่อยเรืออย่างถูกต้อง จะสั่งให้ “หยุด หรือ STOP” แล้วมอบให้กรรมการกำกับเส้นปล่อยเรือจัดเรือเข้าเส้นปล่อยเรือใหม่
- ถ้าผู้แข่งขันลงพายออกเรือไปข้างหน้าหลังคำสั่ง “ATTENTION PLEASE” และก่อนเสียสัญญาณปืน ถือว่าผู้แข่งขันนั้นออกเรือผิดกติกา (False Start)
กรรมการปล่อยเรือจะต้องเตือนผู้แข่งขันที่กระทำผิดทันที
ถ้าการกระทำออกเรือผิดกติกาถึงสองครั้งโดยผู้แข่งขันคนเดียวกัน กรรมการปล่อยเรือจะต้องให้ผู้แข่งขันนั้นออกจากเที่ยวแข่งขันนั้น วิธีการเตือนครั้งหนึ่งแล้วตามด้วยการให้ออกจากการแข่งขันโดยกรรมการปล่อยเรือ จะใช้กับเรือ/ผู้แข่งขันที่ออกเรือผิดกติกาเท่านั้น ในกรณีที่มีการติดตังเครื่องปล่อยเรือแบบอัตโนมัติและทำงานได้ถูกต้องการออกเรือผิดกติกาจะไม่เกิดขึ้น
การยับยั้ง (Interruption)
- กรรมการกำกับสนามแข่งขัน มีสิทธิยับยั้งหรือหยุดเรือที่ถูกปล่อยเรือออกมาอย่างถูกต้องในการแข่งขันระยะสั้น ถ้ามีอุปสรรคที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น การยับยั้งดังกล่าวจะมีขึ้นได้ด้วยการแสดงสัญญาณธงสีแดงและสัญญาณเสียงของกรรมการกำกับสนามแข่งขัน ผู้แข่งขัน จะต้องหยุดพายและรอฟังคำสั่งต่อไป
- ถ้ามีการประกาศเที่ยวแข่งขันเป็นโมฆะ จะต้องไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกเรือใจการปล่อยเรือครั้งใหม่
- ในเหตุการณ์ที่มีเรือล่ม ผู้แข่งขันหรือลูกเรือ จะถูกให้ออกจากการแข่งขัน ถ้าไม่สามารถกลับขึ้นบนเรือได้โดยไม่มีการช่วยเหลือจากภายนอก
การพายนำและพายเกาะติดตาม (Taking pace and Hanging)
- การพายนำหรือการได้รับการช่วยเหลือจากเรือที่ไม่ได้ร่วมแข่งขัน หรือด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจะกระทำไม่ได้
- ระหว่างการแข่งขันดำเนินการอยู่ ห้ามเด็ดขาดสำหรับลูกเรือที่ไม่ได้ร่วมการแข่งขันเข้าไปดำเนินการทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งในสนามแข่งขัน รวมทั้งทางด้านนอกเครื่องหมายทุ่นลอย
- การแข่งขันในระยะตั้งแต่ 1,000 ม.ลงมา ผู้แข่งขันจะต้องรักษาตำแหน่งอยู่ในลู่ของตนตั้งแต่เส้นปล่อยเรือจนถึงเส้นชัยของสนามแข่งขัน ห้ามพายเกาะติดตามและพายเข้าใกล้ผู้แข่งขันอื่นน้อยกว่าห้าเมตรทุกทิศทาง
- การแข่งขันในระยะตั้งแต่ 1,000 ม.ขึ้นไป ผู้แข่งขันอาจพายออกนอกลู่ของตนได้ แต่ต้องไม่ไปกีดขวางผู้แข่งขันอื่น
- การแข่งขันในระยะไกล จะใช้สัญญาณเตือน เช่น เสียระฆัง ให้ผู้แข่งขันได้ทราบว่ากำลังผ่านระยะ 1,000 ม.จากเส้นชัย
การเลี้ยวหัน (Turn)
- เมื่อการแข่งขันหระทำในสนามแข่งขันที่มีจุดเลี้ยว การเลี้ยวหันของเรือจะต้องกระทำโดยเอาจุดเลี้ยวไว้ทางกราบซ้ายของเรือ (เลี้ยวในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา)
- เมื่อพายเรือรอบจุดเลี้ยว ผู้แข่งขันที่อยู่ทางด้านนอกจะต้องให้ทางแก่ผู้แข่งขันที่อยู่ทางด้านใน ถ้าหัวเรือของผู้แข่งขันนั้นอย่างน้อยอยู่เสมอในแนวเดียวกับของดาดฟ้าเปิด (ช่องนั่งฝีพาย) ด้านหัวเรือของผู้แข่งขันด้านนอก สำหรับเรือ K2 และ K4 หมายถึงช่องนั่งฝีพายหัวเรือ สำหรับเรือ C1 หมายถึงตัวผู้แข่งขัน และสำหรับเรือ C2 หมายถึงลูกเรือคนหัวเรือสุด
- ผู้แข่งขันจะไม่ถูกให้ออกจากการแข่งขันในการพายเรือไปถูกทุ่นจุดเลี้ยว นอกจากกรมการที่จุดเลี้ยวจะมีความเห็นว่า การกระทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดความได้เปรียบในการเลี้ยวหันเรือจะกระทำให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้กับทุ่นจุดเลี้ยว
การแซง (Overtaking)
- เรือที่พายแซงเรือลำอื่นในการแข่งขัน เป็นหน้าที่ของเรือที่แซงจะต้องคอยหลบหลีกเรือที่ถูกแซงตลอดเวลาในขณะที่แซง
- ห้ามเรือที่ถูกแซงจะเปลี่ยนทิศทางขวางต่อเรือที่แซง

เรือแคนูมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายพันปี โดยชาวอินเดียนแดง ซึ่งเรือแคนูถูกสร้างขึ้นเพื่อการเดินทาง การค้าขาย การสงคราม และเพื่อการล่าสัตว์ รูปลักษณ์มีความต่างกันตามสภาพแวดล้อมถิ่นที่อยู่อาศัย เช่นเรือแคนูของชาวเมารีในประเทศนิวซีแลนด์มีความยาว 35 เมตร ใช้ฝีพายถึง 80 คน ชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาเหนือสร้างเรือแคนูจากหนังกวาง และเปลือกไม้เอิร์ซ (Birch bark) ส่วนชาวอียิปต์ทำมาจากเปลือกไม้พาพัยรัส (Papyrus reeds) ส่วนชาวโพลีนีเซียนใช้ท่อนซุงทำเรือแคนู ชาวเอสกิโมในประเทศกรีนแลนด์ได้สร้างเรือขึ้นมาชนิดหนึ่งโดยเรียกว่า คยัค มีลักษณะคล้ายเรือแคนูแต่มีฝาปิดเรือคยัคนี้ถูกค้นพบโดยนักสำรวจชาวอังกฤษที่ชื่อ Burrough ในปี ค.ศ.1556
ในเวลาต่อมาเรือแคนูเริ่มเป็นที่นิยมกันมากสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการผจญภัยกลางน้ำอันเชี่ยวกราดจึงได้มีการจัดตั้งเป็นสหพันธ์เรือแคนูนานาชาติ (International Canoe Federtion –I.C.F) ขึ้นในปี ค.ศ.1700 ได้มีการผลักดันกีฬาเรือแคนูให้เป็นกีฬาสาธิตในโอลิมปิกเกมส์เมื่อปี ค.ศ.1928 และอีก 12 ปีต่อมากีฬาเรือแคนูก็ได้บรรจุลงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอย่างถาวร ในการกีฬาจะใช้คำว่าเรือแคนูซึ่งหมายถึงทั้งเรือแคนูและคยัครวมกัน เอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าในการจัดการแข่งขัน กีฬาเรือแคนูก็เป็น 1 ประเภทของกีฬาที่จัดให้มีการแข่งขันนั้นด้วย

กฎการแข่งขัน (RACING REGULATIONS)
การให้ออกจากการแข่งขัน (Disqualifications)
- ผู้แข่งขันใดที่พยายามเอาชนะในการแข่งขันทุกวิธีอย่างไร้เกียรติ หรือฝ่าฝืนกฎการแข่งขัน หรือไม่คำนึงถึงธรรมชาติศักดิ์ศรีของกฎการแข่งขัน จะถูกให้ออกจากการแข่งขันในเที่ยวการแข่งขันที่เกี่ยวข้องนั้น
- ผู้แข่งขันเรือคยัคหรือเรือแคนูที่ได้แข่งขันจบเที่ยวไปแล้ว ซึ่งได้ปรากฎภายหลับจากการตรวจสอบว่าไม่เป็นไปตามการแบ่งประเภทของ ICF จะถูกให้ออกจากการแข่งขันในเที่ยวการแข่งขันนั้น
- ระหว่างการแข่งขัน ห้ามรับการช่วยเหลือจากภายนอก หรือมีเรือลำอื่นแล่นติดตามข้างสนามแข่งขันไปด้วย ถึงแม้จะอยู่ข้างนอกลู่แข่งขัน หรือขว้างสิ่งของเข้ามาในสนามแข่งขัน การกระทำทั้งหมดเช่นนั้น จะเป็นสาเหตุให้ผู้แข่งขันที่เกี่ยวข้องถูกให้ออกจากการแข่งขันได้
- การให้ออกจากการแข่งขันทั้งหมดโดยคณะกรรมการตัดสิน จะต้องกระทำเป็นหนังสือยืนยันทันทีพร้อมกับเหตุผล หัวหน้าทีมจะได้รับทราบจากสำเนาตามกำหนดเวลาซึ่งจะเป็นเวลาที่จะเริ่มยื่นการประท้วง
วิธีการขับเคลื่อนเรือ (Means of Propulsion)
- เรือคยัคจะขับเคลื่อนได้ด้วยการใช้พายชนิดสองใบ (Double-bladed paddles) อย่างเดียว
- เรือแคนูแบบแคนาเดียนจะขับเคลื่อนได้ด้วยการใช้พายชนิดใบเดียว (Single-bladed paddles) อย่างเดียว
- ห้ามยึดตรึงพายติดกับตัวเรือด้วยวิธีใด ๆ
- ถ้าเกิดหัก ผู้แข่งขันจะรับพายใหม่จากผู้สนับสนุนไม่ได้
ระบบการจัดแข่งขันรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ (Heats and Finals)
- จะต้องมีจำนวนเรือคยัคหรือเรือแคนูอย่างน้อยสามลำ จึงจะจัดการแข่งขันได้ ถ้ามีจำนวนเรือเข้าแข่งขันตั้งแต่ระยะ 1,000 ม. ลงมามาเกินไป จะต้องจัดให้มีรอบคัดเลือก (Heats) จำนวนเรือคยัคหรือเรือแคนูในแต่ละรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศจะต้องไม่เกิน เก้า(9) ลำ
- การจัดแบ่ง (Division) เรือในแต่ละรอบคัดเลือก จะต้องกระทำด้วยการจับฉลาก
- เรือคยัคหรือเรือแคนูที่มีจำนวน แปด หรือเก้า ลำ ให้จัดแข่งขันเป็นรอบชิงชนะเลิศได้เลย ถ้าหากมีจำนวนเรือมากกว่านี้ ให้จัดแบ่งเรือเข้าแข่งขัน ดังนี้
3 ถึง 9 ลำ จัดเป็นรอบชิงชนะเลิศ
10 ถึง 14 ลำ จัดแข่งขันสองรอบแรก (Heats) ที่ 1-3 ของแต่ละรอบแรกไปรอแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่เหลือไปแข่งขันรอบรองชนะเลิศ (Semi-final) หนึ่งรอบ ที่ 1-3 ของรอบรองชนะเลิศไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
15 ถึง 27 ลำ จัดแข่งขันสามรอบแรกที่ 1-2 ของแต่ละรอบแรก ไปรอแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ที่ 3-5 ของแต่ละรอบแรกไปแข่งขันรอบรองชนะเลิศหนึ่งรอบ ที่เหลือคัดออก ที่ 1-3 ของรอบรอบชนะเลิศไปแข่งขันรอบชนะเลิศ
มากกว่า 27 ลำ จัดแข่งขันจำนวนรอบแรกเท่าที่ต้องการตามจำนวนเรือเข้าแข่งขัน และจัดรอบรองชนะเลิศสามรอบที่ 1-3 ของแต่ละรอบรองชนะเลิศ ไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
- การจัดแบ่งจำนวนเรือในแต่ละรอบแรก จะต้องจัดให้มีจำนวนเรือไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ (หรือในรอบรองชนะเลิศ) อย่างน้อยสามลำจากแต่ละรอบแรก
- การจับฉลากแบ่งเรือ ความแตกต่างกันในแต่ละรอบแรก จะต้องไม่เกินหนึ่งลำ ถ้าหากจำนวนเรือมีความแตกต่างกันในแต่ละรอบแรก จะต้องจัดจำนวนเรือในรอบแรกลำดับต้น ๆ ให้มีจำนวนมากกว่า
- ลูกเรือลำใดไม่ได้ร่วมแข่งขันในรอบคัดเลือกที่ได้กล่าวมาแล้ว จะไม่ได้รับอนุญาตให้แข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ
- องค์ประกอบของลูกเรือที่ได้รับคัดเลือกเข้าแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ หรือรอบชิงชนะเลิศ จะเปลี่ยนตัวไม่ได้ การแข่งขันในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ จะต้องใช้สนามแข่งขันเดียวกัน การเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ จะไม่ขึ้นอยู่กับเวลาที่ทำได้ในรอบคัดเลือก
- สำหรับการแข่งขันระยะเกินกว่า 1,000 ม. จะไม่จัดให้มีรอบคัดเลือก และทำการปล่อยเรือที่เข้าแข่งขันทั้งหมดพร้อมกัน
- ถ้าความกว้างของสนามแข่งขันไม่อำนวยให้ทำการปล่อยเรือพร้อมกัน ให้ทำการปล่อยเรืออย่างปรกติแบบเว้นช่วงเวลา
การปล่อยเรือ (Start)
- จะต้องมีการจับฉลากในการกำหนดตำแหน่งของเรือที่เส้นปล่อยเรือในรอบคัดเลือก จับได้หมายเลยหนึ่ง จะถูกวางไว้ทางซ้าย หมายเลขสองจะอยู่ถัดมาและต่อ ๆ ไป
- ในการแข่งขันที่มีรอบแรกหลายรอบ จะต้องมีการจับฉลากแยกแต่ละรอบแรก
- ผู้แข่งขันจะต้องอยู่ในพื้นที่ปล่อยเรือในเวลาที่เพียงพอต่อการเตรียมตัวให้พร้อมในการปล่อยเรือ การปล่อยเรือจะต้องเป็นไปตามเวลาที่กำหนด โดยจะไม่มีการรอเรือที่ยังไม่เข้าเส้นปล่อยเรือ ตำแหน่งของเรือที่เส้นปล่อยเรือ จะต้องอยู่ในลักษณะที่หัวเรือแข่งขันสัมผัสเส้นปล่อยเรือ
- เรือทุกลำจะต้องอยู่นิ่งไม่เคลื่อนที่
- กรรมการปล่อยเรือ จะประกาศให้ผู้แข่งขันที่เส้นปล่อยเรือได้เตรียมตัวว่า “เตรียมพร้อม หรือ ATTENTION PLEASE” และเมื่อเห็นทุกอย่างเรียบร้อย จะให้สัญญาณปล่อยเรือด้วยการยิงปืน
ในกรณีแข่งขันในระยะไกล กรรมการปล่อยเรือจะประกาศ “ONE TO GO BEFORE START” แล้วให้สัญญาณด้วยการยิงปืน
ใช้คำพูดว่า “ไป หรือ GO” แทนสัญญาณยิงปืนก็ได้
ถ้ากรรมการปล่อยเรือเห็นว่าเรือที่ออกตามสัญญาณปล่อยเรือ ไม่ได้อยู่ในแนวเส้นปล่อยเรืออย่างถูกต้อง จะสั่งให้ “หยุด หรือ STOP” แล้วมอบให้กรรมการกำกับเส้นปล่อยเรือจัดเรือเข้าเส้นปล่อยเรือใหม่
- ถ้าผู้แข่งขันลงพายออกเรือไปข้างหน้าหลังคำสั่ง “ATTENTION PLEASE” และก่อนเสียสัญญาณปืน ถือว่าผู้แข่งขันนั้นออกเรือผิดกติกา (False Start)
กรรมการปล่อยเรือจะต้องเตือนผู้แข่งขันที่กระทำผิดทันที
ถ้าการกระทำออกเรือผิดกติกาถึงสองครั้งโดยผู้แข่งขันคนเดียวกัน กรรมการปล่อยเรือจะต้องให้ผู้แข่งขันนั้นออกจากเที่ยวแข่งขันนั้น วิธีการเตือนครั้งหนึ่งแล้วตามด้วยการให้ออกจากการแข่งขันโดยกรรมการปล่อยเรือ จะใช้กับเรือ/ผู้แข่งขันที่ออกเรือผิดกติกาเท่านั้น ในกรณีที่มีการติดตังเครื่องปล่อยเรือแบบอัตโนมัติและทำงานได้ถูกต้องการออกเรือผิดกติกาจะไม่เกิดขึ้น
การยับยั้ง (Interruption)
- กรรมการกำกับสนามแข่งขัน มีสิทธิยับยั้งหรือหยุดเรือที่ถูกปล่อยเรือออกมาอย่างถูกต้องในการแข่งขันระยะสั้น ถ้ามีอุปสรรคที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น การยับยั้งดังกล่าวจะมีขึ้นได้ด้วยการแสดงสัญญาณธงสีแดงและสัญญาณเสียงของกรรมการกำกับสนามแข่งขัน ผู้แข่งขัน จะต้องหยุดพายและรอฟังคำสั่งต่อไป
- ถ้ามีการประกาศเที่ยวแข่งขันเป็นโมฆะ จะต้องไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกเรือใจการปล่อยเรือครั้งใหม่
- ในเหตุการณ์ที่มีเรือล่ม ผู้แข่งขันหรือลูกเรือ จะถูกให้ออกจากการแข่งขัน ถ้าไม่สามารถกลับขึ้นบนเรือได้โดยไม่มีการช่วยเหลือจากภายนอก
การพายนำและพายเกาะติดตาม (Taking pace and Hanging)
- การพายนำหรือการได้รับการช่วยเหลือจากเรือที่ไม่ได้ร่วมแข่งขัน หรือด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจะกระทำไม่ได้
- ระหว่างการแข่งขันดำเนินการอยู่ ห้ามเด็ดขาดสำหรับลูกเรือที่ไม่ได้ร่วมการแข่งขันเข้าไปดำเนินการทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งในสนามแข่งขัน รวมทั้งทางด้านนอกเครื่องหมายทุ่นลอย
- การแข่งขันในระยะตั้งแต่ 1,000 ม.ลงมา ผู้แข่งขันจะต้องรักษาตำแหน่งอยู่ในลู่ของตนตั้งแต่เส้นปล่อยเรือจนถึงเส้นชัยของสนามแข่งขัน ห้ามพายเกาะติดตามและพายเข้าใกล้ผู้แข่งขันอื่นน้อยกว่าห้าเมตรทุกทิศทาง
- การแข่งขันในระยะตั้งแต่ 1,000 ม.ขึ้นไป ผู้แข่งขันอาจพายออกนอกลู่ของตนได้ แต่ต้องไม่ไปกีดขวางผู้แข่งขันอื่น
- การแข่งขันในระยะไกล จะใช้สัญญาณเตือน เช่น เสียระฆัง ให้ผู้แข่งขันได้ทราบว่ากำลังผ่านระยะ 1,000 ม.จากเส้นชัย
การเลี้ยวหัน (Turn)
- เมื่อการแข่งขันหระทำในสนามแข่งขันที่มีจุดเลี้ยว การเลี้ยวหันของเรือจะต้องกระทำโดยเอาจุดเลี้ยวไว้ทางกราบซ้ายของเรือ (เลี้ยวในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา)
- เมื่อพายเรือรอบจุดเลี้ยว ผู้แข่งขันที่อยู่ทางด้านนอกจะต้องให้ทางแก่ผู้แข่งขันที่อยู่ทางด้านใน ถ้าหัวเรือของผู้แข่งขันนั้นอย่างน้อยอยู่เสมอในแนวเดียวกับของดาดฟ้าเปิด (ช่องนั่งฝีพาย) ด้านหัวเรือของผู้แข่งขันด้านนอก สำหรับเรือ K2 และ K4 หมายถึงช่องนั่งฝีพายหัวเรือ สำหรับเรือ C1 หมายถึงตัวผู้แข่งขัน และสำหรับเรือ C2 หมายถึงลูกเรือคนหัวเรือสุด
- ผู้แข่งขันจะไม่ถูกให้ออกจากการแข่งขันในการพายเรือไปถูกทุ่นจุดเลี้ยว นอกจากกรมการที่จุดเลี้ยวจะมีความเห็นว่า การกระทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดความได้เปรียบในการเลี้ยวหันเรือจะกระทำให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้กับทุ่นจุดเลี้ยว
การแซง (Overtaking)
- เรือที่พายแซงเรือลำอื่นในการแข่งขัน เป็นหน้าที่ของเรือที่แซงจะต้องคอยหลบหลีกเรือที่ถูกแซงตลอดเวลาในขณะที่แซง
- ห้ามเรือที่ถูกแซงจะเปลี่ยนทิศทางขวางต่อเรือที่แซง
การชนกันหรือการเกิดความเสียหาย (Collision or Damage)
- ผู้แข่งขันใดที่ทำให้เกิดเหตุเรือชนกัน หรือทำให้พายของเรือแคนูหรือเรือคยัคของผู้แข่งขันอื่นเสียหาย อาจถูกให้ออกจากการแข่งขัน
การเข้าเส้นชัย (Finish)
- เรือที่ถือว่าผ่านเส้นชัย หัวเรือจะต้องผ่านเส้นชัยและมีลูกเรือครบบนเรือ
- ถ้ามีเรือสองลำหรือมากกว่านั้น เข้าเส้นชัยในเวลาเดียวกัน ให้ถือว่ามีลำดับที่เดียวกัน
- ในกรณีที่มีผู้แข่งขันมีลำดับที่เดียวกัน (Dead Heat Finish) ซึ่งเป็นลำดับที่ที่จะต้องเลื่อนไปแข่งขันในระดับต่อไป จะต้องใช้กฎ ต่อไปนี้
ก. ถ้าหากมีจำนวนลู่เพียงพอสำหรับการแข่งขันในระดับต่อไป จะต้องใช้วิธีจับฉลากเพื่อกำหนดว่า เที่ยวแข่งขันใดที่เรือเหล่านี้จะเลื่อนเข้าไปแข่งขัน ถ้าเป็นไปได้ อาจจัดให้มีลู่ที่ 10 ด้วยก็ได้ (ปรกติสนามแข่งขันจะมี 9 ลู่)
ข. ถ้าหากมีจำนวนลู่ไม่พอ จะต้องจัดให้มีการแข่งขันกันขึ้นอีกครั้งระหว่างเรือที่เกี่ยวข้อง ในเวลาหนึ่งชั่วโมงหลังการแข่งขันเที่ยวสุดท้ายของวันหรือของครึ่งวันโปรแกรมการแข่งขัน
ค. ถ้าหากเกิดมีผู้แข่งขันได้ลำดับที่เท่ากันอีกในการแข่งขันครั้งใหม่นี้ จะต้องใช้วิธีการจับฉลากเพื่อเป็นการตัดสินสุดท้าย

ไม่มีความคิดเห็น: