วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สัตว์โลกน่ารู้ ตอน จิงโจ้


จิงโจ้ (Kangaroo) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง (macropod) (สัตว์อื่นๆ ได้แก่ วอลลาบี จิงโจ้ต้นไม้ วอลลารู เป็นต้น ทั้งหมด 63 ชนิดด้วยกัน) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นออสเตรเลีย โครงกระดูกของ สิงโตจิงโจ้ขนาดยักษ์ (Marsupial lion) หรือ ลูกครึ่งวอมแบ็ทกับจิงโจ้ ถูกค้นพบในโพรงถ้ำของเขตที่ราบ Nullarbor ในเซ็ลทรัลออสเตรเลียทางตอนใต้ ที่ซึ่งเต็มไปด้วยโครงกระดูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และนกจำนวน 69 สปีชีส์ โครงกระดูกของสัตว์บางตัวยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่มีชิ้นส่วนสูญหาย
Marsupial หมายถึง สัตว์จำพวกจิงโจ้ของออสเตรเลีย ที่มีกระเป๋าหน้าท้องไว้สำหรับใส่ลูก ซึ่งได้แก่ จิ้งโจทุกสปีชีส์ และหมีโคอะล่า แต่ Marsupial lion นี้เป็นสัตว์จำพวกจิงโจ้ที่ไม่เคยมีการค้นพบและจดบันทึกมาก่อน
โพรงถ้ำลึกลับนี้ถูกค้นพบโดยนักเดินถ้ำในปี 2002 แต่ด้วยขนาดและความลึก 20 – 70 เมตรใต้ทะเลทรายนั้นได้เพิ่มความลำบากให้ทีมนักโบราณคดีจากพิพิธภัณฑ์ Western Australia Museum ที่นำโดย Gavin Prideaux ใช้เวลาถึง 4 ปีในการรวบรวมและวิเคราะห์โครงกระดูกนั้น
ทีมนักโบราณคดีวิเคราะห์ว่า สัตว์เหล่านั้นน่าจะตกลงมาในโพรงถ้ำนี้ในระหว่าง 800,000– 200,000 ปีที่แล้ว ทีมงานได้ทำการวิเคราะห์ธาตุออกวิเจนและธาตุคาร์บอนในผิวฟันของพวกสัตว์ก่อนประวัติศาสตร์นั้นกับฟันของฟอสซิลสัตว์ตระกูลจิงโจ้ที่พบในปัจจุบันจำนวน 13 สปีชีส์ รวมถึง วอมแบ็ทยักษ์ (Giant wombat) เพื่อดูว่าพวกมันกินอะไรเป็นอาหารเมื่อครั้งที่มันยังมีชีวิตอยู่ พบว่ามีความใกล้เคียงกันกับจิงโจ้และวอมแบ็ทที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ในเขตที่ราบ Nullarbor ที่แห้งแล้ง แสดงให้เห็นว่า สัตว์ก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้อาศัยอยู่ในสภาพภูมิอากาศอันแห้งแล้ง (arid climate) นี้มาก่อน
จากโครงกระดูกพบว่ามีสัตว์เฉพาะจำพวกจิงโจ้ถึง 23 สปีชีส์ รวมถึงจิงโจ้ชนิดที่ปีนต้นไม้ได้ แสดงให้เห็นว่าแม้เขต Nullarbor ในอดีตจะเคยแห้งแล้ง แต่ก็ยังมีความหลากหลายของพืชพันธุ์ที่เป็นอาหารให้กับสรรพสัตว์มากกว่าในปัจจุบัน
Gavin คาดว่า Marsupial lion น่าจะตายลงในช่วง 40,000 ปีที่แล้วอาจจะมาจากความขาดแคลนอาหารในช่วงยุคน้ำแข็ง และอาจมาจากมนุษย์ไม่โดยการล่าก็การทำลายถิ่นที่อยู่ของพวกมัน

เคล็ดลับเรียนดี เอามาฝากเพื่อนๆๆกัน

1.มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนที่ดี
2.ต้องถามตัวเองแล้วลองตอบจะจำได้แม่น
3.การสะสมความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์
4.ต้องกินอาหาร 3 มื้อ อาหารเป็นสิ่งสำคัญ
5.เวลาเรียนต้องตั้งใจเรียนอย่างจริงๆจังๆ
6.แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น ไม่หวงความรู้มีน้ำใจความรู้จะได้เพิ่มพูน
7.จัดระเบียบให้ตัวเอง รู้จักเวลาไหนควรทำอะไร
8.ลดความบันเทิงไว้บ้าง แบ่งเวลามีได้เเต่พอเหมาะ
9.จดบันทึกที่มีความรู้ มีสมุดพกเล่มเล็กๆติดตัวไว้เสมอ
10.สร้างนิสัยรักการอ่าน ขยันอ่านมากๆๆ
11.ผลัดกันถามและตอบ กับเพื่อนสนิท
12.นำข้อสอบเก่ามาอ่าน ทบทวนหลายฉบับ
13.ใช้อินเทอร์เน็ตให้เป็นประโยด
14.ฝึกสมาธิ ตั้งสติ
15.พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกจนเกินไป
16.กำจัดความเกียจคร้าน ออกไปจากตัวเราให้ได้
17.หาที่เรียนพิเศษ ที่คิดว่าเหมาะสมและคุ้มค่ากับเวลาเเละเงินที่เราต้องเสียไป
18.เรียนเล่นต้องเป็นเวลา รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม
19.แสวงหาความรู้ รอบตุวให้มากๆ
20.ความพากเพียรพยายาม ความสำเร็จอยู่ที่นั้นอย่างแน่นอน

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เค้ก


เค้ก เป็นขนมที่มีกระบวนการทำให้สุกโดยการอบ เป็นขนมที่นิยมบริโภคกันทุกกลุ่มชน เค้กมีหลายประเภทและมีคุณสมบัติต่าง ๆ กัน ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของส่วนผสมคือแป้งสาลี ผงฟู เกลือ ไขมัน น้ำตาลไข่ นม และกลิ่นรส โดยต้องมีองค์ประกอบเป็นตัวเค้กให้มีความสมดุลย์ต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของเค้กที่จะทำ


เค้ก เป็นขนมอบที่มีลักษณะ รูปร่าง ตามความต้องการของผู้ผลิต แต่มีส่วนประกอบของแป้งสาลี น้ำตาล ไข่ นม ไขมัน และสิ่งปรุงแต่งให้เกิดชนิดของเค้ก เช่น ผลไม้ต่าง ๆ ดังนั้นเค้กจึงเป็นขนมที่ให้ประโยชน์กับผู้บริโภค โดยได้รับสารอาหาร คือ แป้ง น้ำตาล ให้สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท ซึ่งเป็นสารอาหารที่ทำให้เกิดพลังงานแก่ร่างกาย ไข่ นม ให้สารอาหาร โปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สร้างเซลล์เนื้อเยื่อให้กับร่างกาย เนย ไขมัน ให้สารอาหารไขมัน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยในการหล่อลื่นและทำให้ผิวพรรณสดชื่น

นอกจากนั้นเด็กยังสามารถนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันมงคลสมรส วันเกิด ปีใหม่ และสามารถจัดรับประทานเป็นอาหาร น้ำชา กาแฟด้วย


แป้งสาลี

แป้งสาลีที่ใช้ทำเค้ก ควรจะมีโปรตีนประมาณ 7-9 เปอร์เซนต์ มีสีขาวละเอียด และได้ผ่านการฟอกด้วยคลอลีนมาแล้ว ซึ่งการฟอกแป้งนี้จะทำให้แป้งมีคุณสมบัติเหมาะในการทำเค้ก คือช่วยทำให้แป้งดูดน้ำ น้ำตาลไขมันได้มากขึ้น หน้าที่ของแป้งในการทำเค้ก คือเป็นตัวให้โครงสร้างแก่เนื้อเค้ก และเป็นตัวช่วยรวมส่วนผสมอื่น ๆให้เข้ากันได้ดีขึ้น
น้ำตาล


น้ำตาลเป็นตัวทำให้เค้กมีรสหวาน และยังทำให้เค้กเกิดความนุ่ม เพราะน้ำตาลมีผลทำให้โปรตีนในแป้งอ่อนตัว ช่วยให้เค้กมีอายุการเก็บไว้ได้ยาวนานขึ้น เนื่องจากน้ำตาลมีคุณสมบัติในการเก็บความชื้นที่ดี และยังทำให้เค้กมีผิวสีสวย น้ำตาลที่นิยมใช้ในการทำเค้กส่วนมากจะใช้น้ำตาลทรายเม็ดละเอียด อาจใช้น้ำตาลทรายแดงบ้างในการทำเค้กบางชนิด

ปัจจัยที่ทำให้น้ำตาลละลายได้ในระหว่างผสมมี 4 ประการ คือ
เวลาที่ใช้ผสม
ขนาดของเม็ดน้ำตาล
ปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในส่วนผสม
อุณหภูมิในระหว่างผสม
ไขมัน
ไขมันมีหน้าที่จับอากาศไว้ในขณะที่ผสมเค้ก อากาศที่ไขมันเก็บไว้ในระหว่างการตี มีหน้าที่เป็นตัวทำให้เค้กอ่อนนุ่มมากกว่าตัวไขมันจริง ๆ ไขมันทุกชนิดถือว่ามีหน้าที่ทำให้ขนมมีความนุ่ม ไขมันในการทำเค้กโดยทั่ว ๆ ไปมี
เนยสด เป็นไขมันที่ให้กลิ่นรสดีที่สุดในจำนวนไขมันทุกชนิดที่ใช้ในการทำขนมอบ แต่มีค่าของการ เป็นชอตเทนนิ่งต่ำ คือ เวลาผสมจะมีน้ำหนัก เนื้อไม่เนียนเป็นครีม และมักไม่เข้ากันดี เค้กที่ทำด้วย เนยสดล้วน จึงมักจะมีปริมาตรไม่ดี และมีเนื้อเค้กหยาบกว่าเค้กที่ทำด้วยเนยขาวที่มีคุณภาพสูง ซึ่งมี คุณสมบัติในการเป็นครีมที่ดี แต่จะไม่มีกลิ่นรสที่ดีเหมือนเนยสด ดังนั้นในการทำเค้กจึงนิยมใช้เนย สดหรือมาการีนหรือเนยขาวอย่างละครึ่ง โดยเนยสดมีหน้าที่ให้กลิ่นรส และเนยขาวมีส่วนช่วยในด้าน การผสมและด้านปริมาณของเค้ก
นอกจากนั้นมาการีน เนยขาว น้ำมัน ก็เป็นไขมันที่สำคัญในการให้ความชุ่มชื้นในเนื้อเค้ก
เกลือ
เกลือเป็นตัวทำให้เกิดรสชาติในขนมเค้ก คือ ให้ความเค็ม และยังเป็นตัวช่วยเน้นรสชาติของส่วนอื่น ๆ ให้ดีขึ้น และยังมีส่วนช่วยทำให้เค้กแข็งตัว เพราะเกลือมีผลต่อกลูเต้นของแป้งสาลีจึงเป็นตัวให้โครงสร้างแก่เค้ก
ไข่ไก่
ไข่ไก่มีหน้าที่ช่วยให้เกิดโครงสร้าง กลิ่น รส สี ความชื้น และคุณค่าอาหารแก่ขนมเค้ก โครงสร้างที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของโปรตีนในไข่ในระหว่างการอบ และไข่จะเป็นตัวช่วยเก็บอากาศในระหว่างตี ทำให้ขนมขึ้นฟูในเค้ก เช่น สปองจ์เค้ก
นม
นมที่นิยมใช้ในการทำเค้กมี นมสด นมข้นจืดระเหย นมผง นมผงช่วยให้เกิดโครงสร้าง และความมันแก่เค้ก และยังทำให้เค้กเกิดความแข็งและแห้งในขณะเดียวกันเนื่องจากนมผงมีการเชื่อมกับโปรตีนในแป้ง ทำให้เกิดการแข็งตัว นอกจากนี้นมผงยังเป็นตัวให้สีที่ผิวเค้ก เนื่องจากในนมผงมีน้ำตาลแลคโตสอยู่และยังช่วยให้เกิด กลิ่นรส และเป็นตัวเก็บความชื้นได้ดีด้วย
สิ่งที่ช่วยทำให้ขึ้นฟู
จะเป็นตัวทำให้เกิดความนุ่มในเค้ก ชนิดของสิ่งที่ทำให้ขึ้นฟูที่ใช้ในสูตรเค้กขึ้นอยู่กับประเภทของเค้กที่ต้องการทำ ซึ่งการขึ้นฟูโดยทั่วไปเกิดจากเหตุ 3 ประการ คือ

ขึ้นฟูโดยอากาศ
ขึ้นฟูโดยใช้สารเคมี เช่น ผงฟู หรือโซดาไบคาร์บอเนต
ขึ้นฟูโดยความดันไอน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อเค้กอยู่ในเตาอบ

ของเหลว
ของเหลวที่ใช้ในสูตรเค้กอาจจะเป็นในรูป น้ำนม น้ำ ไข่ หรืออาจจะอยู่ในส่วนผสมอื่น ๆ ที่มีความชื้นอยู่ความชื้นทำหน้าที่หลายอย่างในเค้ก เช่น ละลายน้ำตาล ทำให้เกิดกลูเต้น ทำให้ผงฟูเกิดปฏิกริยาที่ควรเป็น ช่วยควบคุมความหนืดและอุณหภูมิของส่วนผสม นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความอ่อนนุ่มให้แก่เค้ก

กลิ่นรสและเครื่องเทศ
สิ่งเหล่านี้ใช้เติมลงในเค้กเพื่อให้เกิดรสเฉพาะอย่าง การเลือกใช้กลิ่นรส ควรเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของเค้กที่ทำ

เค้กที่มีไขมันเป็นส่วนผสมหลัก (Butter Type Cake)

เป็นเค้กที่มีปริมาณของไขมันสูง การขึ้นฟูของเค้กประเภทนี้เกิดจากอากาศที่ได้จากการตีเนย โดยอนุภาคของไขมันจะเก็บอากาศไว้แล้วขยายตัวในระหว่างอบ เค้กประเภทนี้ได้แก่ เค้กเนย เค้กผลไม้ ช็อกโกแลตเค้ก ฯลฯ


เค้กที่มีไข่เป็นส่วนผสมหลัก (Foam Type Cake )

เค้ก อาจมีหรือไม่มีไขมันเป็นส่วนผสมขึ้นอยู่กับสูตร โครงสร้างของเค้กเกิดจากโปรตีนในไข่ ซึ่งมีปริมาณสูงในส่วนผสม การขึ้นฟูขึ้นอยู่กับการจับอากาศของไข่ในระหว่างการตีไข่ และทำให้เค้กขยายตัวหรือขึ้นฟูในระหว่างการอบ เพราะเกิดแรงดีดขึ้น ทำให้เค้กขึ้นฟูในเตาอบ การทำเค้กประเภทนี้ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะฟองที่เกิดจากการตีไข่อ่อนตัว ไม่เหมือนเค้กที่มีไขมันเป็นหลัก เค้กประเภทนี้ ได้แก่ แยมโรลขนม ไข่ สปองจ์เค้ก แองเจิ้ลฟูดเค้ก


เค้กที่ทำโดยการแยกไข่ขาว - ไข่แดง หรือชิฟฟ่อนเค้ก (Chiffon Type Cake)

เป็นเค้กที่มีลักษณะรวมของเค้กเนยและเค้กไข่ คือมีโครงสร้างที่ละเอียดเหมือนเค้กไข่ และมีเนื้อเค้กที่มันเงาเหมือนเค้กเนย ต่างจากเค้กเนยที่ชิฟฟ่อนเค้กใช้น้ำมันพืชแทนเนย เป็นเค้กที่มีลักษณะเบาและนุ่มมาก


การอบเค้ก


การอบเค้ก เป็นสิ่งสำคัญในการทำเค้ก เพราะการใช้อุณหภูมิในการอบเค้กชนิดต่าง ๆ นั้นย่อมแตกต่างกันออกไป แต่ที่แน่นอนของการอบเค้กทุกชนิด ผู้ทำเค้กจะต้องเปิดอุณหภูมิของเตาอบให้ได้ตามวัตถุประสงค์ในการอบเค้กชนิดนั้น ๆ ก่อนเริ่มลงมือทำ การอบเค้กชนิดต่าง ๆ คือ

วิธีผสม


เค้กเนย เค้กไข่ ชิฟฟ่อนเค้ก เนื่องจากเค้กมีด้วยกันถึง 3 ชนิด ขั้นตอนการทำของเค้กแต่ละชนิดจึงมีความแตกต่างกันออกไป คือ


เค้กเนย


หรือเค้กที่มีไขมันเป็นส่วนผสมหลัก มีวิธีผสมโดยทั่ว ๆ ไปดังนี้


วิธีครีมเนย (Creaming Method)


เป็นวิธีผสมโดยตีไขมันกับน้ำตาลด้วยความเร็วปานกลางของเครื่อง ตีจนกระทั่งเนยขึ้นฟู การที่เนยขึ้นฟูเนื่องจากเซลอากาศที่เกิดจะถูกดูดซึมเข้าไว้ โดยทำเนยให้ฟูและเบา จากนั้นค่อย ๆ เติมไข่ลงทีละฟอง ตีให้เข้ากันด้วยความเร็วปานกลาง ใส่แป้งสลับกับของเหลวโดยเริ่มต้นด้วยแป้งและสิ้นสุดด้วยแป้งสลับกันไป การที่เติมแป้งสลับกับนมเช่นนี้เพื่อที่จะให้แป้งค่อย ๆ ดูดซึมน้ำบางส่วน และป้องกันการจับตัวเป็นก้อน ผสมจนส่วนผสมเนียนเรียบ


วิธีคนผสม (Blending Method)


ใช้สำหรับเค้กที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและน้ำในเปอร์เซนต์ที่สูงกว่าแป้ง เรียกว่า ไฮ - เรโชเค้ก (High Ratio Cake) เค้กที่ทำโดยวิธีนี้จะมีปริมาตรต่ำแต่มีความชุ่ม นุ่ม มีเนื้อเค้กที่ละเอียด และเนื้อสัมผัสดี มีคุณภาพในการเก็บดี


วิธีทำมีดังนี้ ผสมแป้งกับไขมันให้เข้ากัน จนเม็ดแป้งถูกห่อหุ้มด้วยไขมันรวมตัวกันเป็นเม็ด เติม ส่วนผสมแห้งอื่น ๆ ลงไป เติมของเหลวลงไปประมาณ 25 % ของของเหลวที่ใช้รวมทั้งไข่ด้วย ผสมส่วนผสมทั้งหมด แล้วผสมต่อไปจนแป้งที่ผสมเรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน


วิธีชูก้า - วอเตอร์ (Sugar Water Method)


คือการผสมน้ำตาลลงในน้ำให้ละลายตั้งพักไว้ ตีเนยกับส่วนผสมของแห้งที่ร่อนแล้ว เช่น แป้ง ผงฟู เกลือนมผงลงไป ตีด้วยความเร็วต่ำ พอเนยกับแป้งรวมกันเป็นเม็ดค่อย ๆ เติมสารละลายของน้ำตาล ตีให้เข้ากันด้วยความเร็วปานกลางจนกระทั่งขึ้นฟู แล้วเติมไข่ลงผสมต่อไปจนแป้งที่ผสมเรียบเนียน


วิธีผสมขั้นตอนเดียว (Single - Stage Method)


เป็นการผสมส่วนผสมทั้งหมดที่ใช้ในสูตรเข้าด้วยกัน ยกเว้นไข่ แล้วตีด้วยที่ตีรูปตะกร้อสำหรับตีไข่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 5 นาที แล้วจึงเติมไข่ลงไป ตีต่ออีก 5 นาที ด้วยความเร็วต่ำ ส่วนมากใช้กับเค้กสำเร็จรูป


วิธีแยกไข่ขาว - ไข่แดง


เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมในการทำเค้กเนย เพราะจะได้เค้กที่มีปริมาตรดี มีวิธีการทำคือ ตีเนยกับน้ำตาลจนกระทั่งขึ้นฟู ประมาณ 10 - 15 นาที ด้วยความเร็วปานกลาง เติมไข่แดงทีละฟองตีผสมจนเข้ากัน ใส่ส่วนผสมของของแห้งที่ร่อนแล้วสลับกับของเหลว ตีด้วยความเร็วต่ำ เติมกลิ่นผสมให้เข้ากัน


นำไข่ขาวตีกับครีมออฟทาร์ทาร์ตีจนกระทั่งตั้งยอดอ่อน ค่อย ๆ เติมน้ำตาลลงไปจนหมด ตีจนกระทั่งตั้งยอดแข็ง นำมาผสมในส่วนผสมที่พักไว้ คนผสมเบา ๆ ให้เข้ากัน


ทั้งวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 เป็นวิธีผสมที่ใช้กันมากในการทำเค้กเนย คือถ้าต้องการให้เค้กมีปริมาตรดี ก็ใช้วิธีที่ 1 ถ้าต้องการให้เค้กมีเนื้อนุ่มก็ใช้วิธีที่ 2 จะได้ผลดีกว่า


เค้กไข่หรือเค้กที่มีไข่เป็นส่วนผสมหลัก


เค้กประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด วิธีผสม คือ


แองเจิ้ลฟูดเค้ก


เป็นเค้กที่ใช้โปรตีนจากไข่ขาว โดยการนำไข่ขาวมาตีให้ขึ้นเป็นฟอง โดยมีน้ำตาลส่วนหนึ่งเป็นส่วนผสมตีจนไข่ขาวขึ้นฟองและฟองไข่ขาวมีลักษณะแข็งตัวเป็นมันเงา ในการตีไข่ขาวยังต้องใส่ครีมออฟทาร์ทาร์ลงไป เพื่อช่วยให้เกิดฟองไข่ขาวอยู่ตัวไม่เหลวเป็นน้ำ และทำให้เค้กที่อบได้มีเนื้อขาวละเอียดอีกด้วย ส่วนน้ำตาลอีก ส่วนนำมาผสมส่วนผสมแห้งอื่น ๆ ได้แก่ แป้ง เกลือ ฯลฯ แล้วจึงผสมลงไปในฟองไข่ขาวที่ตีขึ้นแล้ว คนเบา ๆให้เข้า กัน เทใส่พิมพ์สะอาดปราศจากไขมันอบให้สุก


สปันจ์เค้ก


เป็นการทำเค้กที่ใช้ไข่ทั้งฟองหรือเฉพาะไข่แดง ในการผสมเค้กชนิดนี้ ตีไข่และน้ำตาลด้วยความเร็วสูงจนกระทั่งฟองไข่ละเอียดและเป็นเนื้อสีขาว จึงเติมส่วนผสมของแป้งผสมให้เข้ากัน บางสูตรอาจมีนม ไขมันละลาย ควรเติมหลังจากผสมแป้งแล้ว โดยต้องคนเร็ว ๆ และเบา เพื่อป้องกันการยุบตัวของส่วนผสม (ควรใช้เนยละลายอุ่น ๆ เพื่อป้องกันการยุบตัวจะทำให้เค้กมีปริมาตรดีขึ้น)


ชิฟฟ่อนเค้ก


ชิฟฟ่อนเค้ก เป็นเค้กที่มีลักษณะเบาและนุ่มมากเหมือนสปันจ์เค้ก เตรียมได้โดยแบ่งขั้นตอนการทำออกเป็น2 ขั้นตอน คือ


ขั้นตอนแรก ผสมไข่แดงที่แยกออกจากไข่ขาวแล้วผสมกับส่วนผสมอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ แป้ง น้ำตาลส่วนหนึ่งผงฟู เกลือ น้ำมันพืช และน้ำหรือน้ำผลไม้ผสมให้เข้ากัน จนส่วนผสมเนียน


ขั้นตอนที่สอง ตีไข่ขาว ครีมออฟทาร์ทาร์หรือน้ำมะนาวพอขึ้นใส่น้ำตาลอีกส่วน ตีจนฟองแข็งตัวตั้งยอดแล้วค่อย ๆ เทส่วนผสมแรกลงบนไข่ขาวที่ตีได้ คนตะล่อมเบา ๆ จนเข้ากันดี การผสมส่วนผสมแรกกับไข่ขาวเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ควรผสมเบา ๆ ด้วยมือ






เค้กเนย


เค้กเนยที่ผสมแล้วควรเทใส่ในพิมพ์ที่ทาด้วยไขมัน แล้วเคาะแป้งนวลเพื่อไม่ให้เค้กติดก้นพิมพ์ หรือจะใช้กระดาษไขรองก้นพิมพ์แล้วทาไขมันก็ได้ ควรใส่เนื้อเค้กประมาณ 1/2 หรือ 2/3 ส่วนของพิมพ์ เสร็จแล้วรีบนำเข้าเตาอบที่ตั้งอุณหภูมิไว้ คือ 180 ํ ซ. ถ้าผสมเค้กเสร็จแล้ววางพักไว้นาน จะเกิดปฏิกิริยาของผงฟูกับของเหลวในส่วนผสมผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ซึ่งเป็นการทำให้ขนมเค้กขึ้นฟูจะสูญเสียออกไปมากระหว่างการรอเข้าเตาอบ เค้กที่อบออกมาจะมีลักษณะที่ไม่ดี


การอบเค้กเนยที่เป็นปอนด์อันใหญ่ จะใช้เวลาในการอบนานถึง 40 - 50 นาที แต่ถ้าอบเค้กถ้วยเล็ก ๆ จะใช้เวลาเร็วขึ้นประมาณ 15 - 20 นาที


การตรวจสอบว่าเค้กเนยสุกดีแล้วหรือไม่ สามารถทำได้โดยใช้ไม้แหลมเล็ก ๆ จิ้มลงในเนื้อเค้กเมื่อดึงออกมาจะไม่มีเนื้อเค้กติดออกมา แสดงว่าเค้กอบสุกดีแล้ว หรือรอบ ๆ ข้างเค้กร่อนจากพิมพ์ จึงนำออกจากเตาตั้งพักไว้ประมาณ 5 นาที จึงเอาออกจากพิมพ์แล้วพักให้เย็น ก่อนนำไปแต่งหน้า


สปันจ์เค้ก


เค้กชนิดนี้เมื่อผสมแล้วเทใส่พิมพ์นำเข้าอบทันที ถ้าทิ้งไว้นานฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการผสมจะสูญเสียไปในระหว่างการรอคอย เพราะการทิ้งไว้นอกเตาอบนาน เซลอากาศลดลงได้ ทำให้ปริมาตรของเค้กสูญเสีย และเนื้อเค้กไม่ดี


พิมพ์ที่ใช้กับเค้กชนิดนี้ จะทาไขมันและรองด้วยกระดาษไขตามขนาดของพิมพ์ที่ใช้ การอบเค้กชนิดนี้ผู้ทำเค้กควรเปิดอุณหภูมิเตาอบให้ได้ตามต้องการที่จะใช้ เพราะเมื่อเค้กผสมเค้กเสร็จก็สามารถนำเข้าอบได้ทันทีและควรเทส่วนผสมประมาณ 2/3 หรือ 3/4 ของพิมพ์ เพราะเมื่อเค้กฟูจะขึ้นเต็มพิมพ์ อุณหภูมิที่ใช้ควรอยู่ในช่วง 340 - 400 องศาฟาเรนไฮท์


การตรวจสอบว่าสปันจ์เค้กอบสุกดีแล้วตรวจได้โดยการใช้นิ้วแตะลงบนหน้าเค้ก จะมีความรู้สึกแน่นและเป็นสปริง คือรอยนิ้วมือจะถูกดันกลับขึ้นมา แสดงว่าเค้กสุกแล้ว เมื่อนำเค้กออกจากเตาอบต้องเทคว่ำพิมพ์ทันที เพื่อให้ผิวนอกของเค้กสม่ำเสมอ และเอาออกจากพิมพ์ได้ง่าย


พิมพ์ที่ใช้กับเค้กแองเจิ้ลฟูดเค้ก สำหรับเค้กชนิดนี้นิยมใช้พิมพ์ที่มีปล่องตรงกลาง ไม่ต้องทาไขมันที่พิมพ์แต่ต้องล้างให้สะอาด การอบเค้กชนิดนี้จะใช้อุณหภูมิต่ำกว่าสปันจ์ เนื่องจากแองเจิ้ลฟูดเค้กมีปริมาณน้ำตาลอยู่สูง อุณหภูมิที่อบประมาณ 325 - 350 องศาฟาเรนไฮท์ และก็ขึ้นอยู่กับขนาดของเค้กด้วย ใช้วิธีการตรวจว่าเค้กสุกแล้วหรือยัง ใช้วิธีเดียวกับสปันจ์เค้กหลังจากนำออกจากเตาอบ จะต้องคว่ำพิมพ์ทันทีแล้วพักไว้ให้เย็นจึงนำออกจากพิมพ์


ชิฟฟ่อนเค้ก


ส่วนผสมของเค้กชนิดนี้สามารถนำไปทำเค้กได้หลายชนิด เช่น แยมโรล เค้กม้วน เค้กปอนด์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความหนาและขนาดของเค้กรวมไปถึงการอบด้วย ขนาดและความหนาของเค้กจะต้องเป็นสัดส่วนกับอุณหภูมิที่ใช้อบ ชิฟฟ่อนเค้กเมื่อนำไปอบจะขึ้นฟูอย่างรวดเร็วและมีปริมาตรสูง เนื่องจากการขยายตัวของเซลอากาศที่เกิดขึ้นจากการตีไข่ขาว และจากปฏิกิริยาของผงฟูที่ใส่ในส่วนผสม จะต้องอบเค้กให้สุกอย่างทั่วถึงเพื่อให้แน่ใจว่าโปรตีนในไข่และกลูเต้นที่มีอยู่ในแป้งแข็งตัว จนกลายเป็นโครงร่างของเค้กต่อไป ชิฟฟ่อนเค้กจะมีลักษณะ แน่นตัวและเป็นสปริงเมื่ออบสุกดี ดูว่าเค้กสุกหรือไม่โดยใช้ไม้จิ้ม ถ้าเค้กติดไม้แสดงว่ายังไม่สุก เมื่ออบสุกนำออกจากเตา คว่ำเค้ก ๆ จะหดตัวและหลุดออกจากพิมพ์





วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ใกล้วันออกพรรษาแล้ว


ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๑ ๑
วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า"ปวารณา"แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกัน ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ "ตักบาตรเทโว" คำว่า "เทโว" ย่อมาจาก"เทโวโรหน" แปลว่าการเสด็จจากเทวโลกการตักบาตรเทโว จึงเป็นการระลึกถึงวันที่ พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรด พระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศล เนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทย ก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ ที่สมมติว่าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เท่านั้น กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา ๑. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ๓. ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว" ๔. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ๕. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ฟาร์มโชคชัย

ผู้ก่อตั้งฟาร์มแห่งนี้คือ คุณโชคชัย บูลกุล โดยเริ่มจากการเข้ามาจับจองพื้นที่ในบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 159 ของ ถ.มิตรภาพ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา พัฒนาขึ้นมาเป็นสวนเกษตรแบบผสมผสานและเริ่มเลี้ยงโคพื้นเมืองเป็นอย่างแรก จากนั้นในปี พ.ศ.2512 คุณโชคชัยได้จดทะเบียนเป็น บริษัท โชคชัยแรนซ์ จำกัด เลี้ยงและจำหน่ายโคเนื้อพันธ์ดีด้วยเทคนิคที่ทันสมัย ทำให้ได้เนื้อขุนคุณภาพเยี่ยม และเป็นการต่อยอดมาถึงธุรกิจ “โชคชัยสเต็คเฮ้าส์” จนถึงปี พ.ศ. 2521 จึงได้เริ่มธุรกิจฟาร์มโคนมครบวงจร และออกผลิตภัณฑ์นมในชื่อ “ฟาร์มโชคชัย” ที่เรารู้จักกันดี แต่ปัจจุบัน นมสดโชคชัย มิได้อยู่ในการดำเนินงานของ ฟาร์มโชคชัยแล้วนะครับ เนื่องจากผู้บริหารได้ขายกิจการภายใต้ชื่อนี้ให้กับคนอื่นไปแล้ว แต่ก็ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากนมขึ้นใหม่ ประกอบไปด้วย ไอศกรีม โยเกิร์ต และทอฟฟี่นม ภายใต้ชื่อว่า “อืมม..มิลค์” จำหน่ายในเขตฟาร์มโชคชัย และเริ่มขยายสาขาออกจากฟาร์มบ้างแล้ว ปัจจุบัน โชคชัยฟาร์ม อยู่ภายใต้การดูแลของคุณโชค บูลกุล ลูกชายของคุณโชคชัย ที่ได้พัฒนาฟาร์มที่เมื่อก่อนทำการเกษตรอย่างเดียวขึ้นมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีคุณภาพ
การเข้าชมที่นี้นั้น จะแบ่งออกเป็นรอบๆ ในวันธรรมดาจะมีประมาณ 2 รอบ ส่วนวันหยุดเพิ่มรอบเป็น 6 รอบตลอดทั้งวัน โดย 1 รอบจะใช้เวลาการเข้าชมประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง และรอบหนึ่งจะรับผู้เข้าชมไม่เกิน 80 คนต่อรอบ ราคาค่าเข้าชม สำหรับผู้ใหญ่ คนละ 250 บาท และเด็กที่ส่วนสูงไม่เกิน 140 ซ.ม. ราคา 125 บาท ครับ
การเข้าชมสิ่งแรกที่คุณจะได้รับก็คือ ถุงเล็กๆที่คุณต้องคล้องคอเอาไว้ตลอดเวลา เพราะจะเป็นตัวบ่งบอกว่าคุณอยู่ในกลุ่มไหน แต่ละกลุ่มที่เข้าชมไม่พร้อมกัน จะมีสีของถุงไม่เหมือนกันครับ
โซนแรกที่โคบาลสาวของโชคชัยฟาร์มนำชมก็คือ ส่วนของการรีดนมวัว ซึ่งได้โชว์ให้เราเห็นทั้งการรีดนมแบบดั้งเดิมที่ใช้มือ และการรีดนมด้วยเครื่องที่ทันสมัยและสะอาด ฟาร์มได้เปิดโอกาศให้เราได้ลองรีดนมวัวด้วย แต่ไม่ทุกคน แค่ตัวแทนประมาณ 4 คนเท่านั้น จากส่วนนี้ น้ำนมจะถูกลำเลียงตามท่อเข้าไปยังโรงงานผลิตภัณฑ์นม อืมม..มิลค์ เพื่อดำเนินการฆ่าเชื้อและเข้าสู่กระบวนการแปรรูปมาเป็น ไอศกรีม หรืออื่นๆต่อไป มีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ให้ชิมเล็กน้อยพอให้อยากแล้วเราก็ต้องไปซื้อกินกันอีกต่อ จากนั้นเขาก็พาเราขึ้นคาราวาลรถแทรกเตอร์ที่มีตู้พ่วงสไตล์คาวบอย เพื่อตะลุยเข้าสู่เขตฟาร์ม
ส่วนแรกที่เราเห็นก็คือ ส่วนของคอกโคนมทั้งหมด ที่กระจายตัวเรียงกันไปอย่างเป็นระเบียบ เพื่อรอการถูกนำไปรีดนม บรรยากาศของฟาร์มสวยมากดูเป็นธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสีเขียวกว้างๆ มีทิวสนล้อมรอบ สะอาดและเป็นระเบียบมาก เสียอย่างเดียวกลิ่นมูลโคโชยรุนแรง แต่โดยรมเเล้วก็เป็นการท่องเทียวเชิงอนุรักษที่แท้จริงเลยทีเดียว หลังจากนั้นเราก็จะไปเจอกับหมู่บ้านคาวบอย มีการแสดงโชว์ต่างๆ รวมไปถึงลานที่เค้าปลูกแก้วมังกรไว้ให้เราได้ชมกัน ถัดไปเราก็เข้าสู่สวนสัตว์ มีการแสดงโชว์ความสามารถของสัตว์ต่างๆอีกเล็กน้อย ก็เป็นรายการที่สนุกเเละเพลิดเพลินดี หลังจากนั้นจึงจะออกจากฟาร์มไปต่อกันในร้านค้าผลิตภัณฑ์ของฝากให้ได้เลือกซื้อหากันอย่างจุใจ

เที่ยวฟาร์มโชคชัยสนุกมาก

หน้าน้ำตกในสวนสัตว์


ถ่ายตรงหน้าลานที่เค้าปลูกแก้วมังกร